ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสามเงา จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กรอบแนวคิดการเสริมพลังอำนาจของกิบสันและแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสามเงา จังหวัดตาก จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 40 คนและกลุ่มทดลอง 40 คน ทำกิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่ม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การค้นพบสภาพการณ์จริง 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง และ 4) การคงไว้ซึ่งวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ การเข้ากลุ่มทั้งหมด 4 ครั้งแต่ละครั้งใช้เวลาเข้ากลุ่ม 60 นาที ภายในระยะเวลา 12 สัปดาห์คือ สัปดาห์แรก, สัปดาห์ที่ 2, สัปดาห์ที่ 8 และ สัปดาห์ที่ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และการประเมินค่าระดับน้ำตาลจับกับฮีโมโกลบิน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการเสริมสร้างพลังสูงกว่าก่อนได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 2) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการเสริมพลังอำนาจมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 3) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการเสริมพลังอำนาจมีค่าระดับน้ำตาลจับกัลป์ฮีโมโกลบินหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการได้รับการพยาบาลแบบเสริมพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการเสริมพลังอำนาจมีค่าระดับน้ำตาลจับกับฮีโมโกลบินหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการได้รับการพยาบาลแบบเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและเพิ่มความสามารถในการปรับพฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรนำแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
References
Chaengpromma K. (2018). Factors Related to HbA1c Levels in Type 2 Diabetic Patients at Prayuen Hospital in Khon Kaen Province, Srinakharinwirot University Journal (Science and Technology Program) 10 (19),1-13. (in Thai).
Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing,16 : 354-361.
Gibson, C. H. (1995). The Process of Empowerment in Mothers of Chronically Ill Children. Journal of Advanced Nursing. 21, 1201-1210.
Intharabut M., Muktabhant Benja. (2007). Perception and Practices of Dietary Control in Type 2 Diabetic Patients. Srinagarind Medical Journal. 22(3), 283-290. (in Thai).
Jermjitphong A. (2017).The Effects of Empowerment Program to Knowledge and Control Blood Sugar of Diabetes Type II Patients Khokphochai Hospital, Khokphochai District, Khon Kaen Province. Journal of Khon Kaen Provincial Health Office. 29(334),30-33. (in Thai).
Kessin J. (2013).Self-management, Knowledge, Quality of life in New Cases with Type II Diabetes Mellitus, Pre-Post Type II Diabetes Patients Self-management Program in Urban Areas, Uthaithani Province. Journal of Nursing Division. 40(1),84-403.
Kanglee K. (2014).Factors Associated With Glycemic Control Among People with Type 2 Diabetes Mellitus at Phramongkutklao Hospital, Bangkok. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 15 (3), 256-257. (in Thai).
Orem, D. E. (1991). Nursing: Concepts of Practice (4 th ed.). St. Louis: Mosby.
Phongprapapan Pensri. (2010). Development Health Promotion Model for Holistic Care of Diabetic Patients in Community of Puranavas Temple, Bangkok, Thailand. Department of Nursing Faculty of Nurse Bangkok Thanabut University. (in Thai).
Poomsanguan K. (2014). Health Empowerment: Nurses’ Important Role. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 15(3), 86-90. (in Thai).
Prasertampisakul N. et al. (2008). Factors Predicting Hyperglycemic Preventive Behaviors among Older Persons with Uncontrolled Type 2 Diabetes Mellitus. Master of Nursing Program (Family Practice Hospital), Thammasat University. (in Thai).
Rachawat R. (2007). Effects of self-regulation program on arm swing exercise behavior and blood sugar of diabetic patients in community. Master degree of Community Practice Nursing, Faculty of Nursing Burapha University. (in Thai).
Sriklo M. et al.,(2014). Effects of Foot Care Promoting Program on Perceived Empowerment and Foot Care Behaviors or Patients with Diabetes Mellitus Type 2 at Tambon Bann Klongsuan Health Promoting Hospital, Samut Prakarn Province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 30(2),68-79. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด