ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การกำกับตนเอง, พฤติกรรมการลดการดื่มแอลกอฮอล์, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้สูงอายุ พื้นที่ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยมีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการลดการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้สูงอายุประกอบด้วยกิจกรรม ได้แก่ 1) กระบวนการสังเกตของตนเอง 2) กระบวนการตัดสิน 3) การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเอง โดยเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 6 ครั้ง การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 8 และ12 มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการกำกับตนเองและพฤติกรรมการลดการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนการกำกับตนเองและพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ที่ระยะหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของการกำกับตนเองและพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ที่ระยะก่อนทดลอง หลังการทดลองครั้งที่ 1 หลังการทดลองครั้งที่ 2 หลังการทดลอง ครั้งที่ 3 และหลังการทดลองครั้งที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P-value < 0.001)
References
theory. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Audomsak, C. (2014). Statistics of Trend Alcohol Drinking in Thai population. [online],
Available: https://cas.or.th/wpcontent/uploads/2016/04/Alcconsumption- statistics-Thailand-10y.pdf. (2018, 15 January).
Audomsak, C., Pontep, V., & Savitree, A. (2016).Facts and Figures: Alcohol in Thailand.
Nonthaburi: Center of Alcohol Studies.
Dempsey, P.A. & Dempsey, A. D. (1992). Nursing research with basic statistical applications. (3rded.). Boston: Jones and Bartlett.
Health Data Center (HDC). (2018). Older adults who choose to drink alcohol. [online],
Available: https://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?catid=
6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48. (2018, 15 January).
Kanlaya, S., Ann, J., Arpaporn, P., & Sukhontha, S. (2018). The Effects of Reduced
Alcohol Consumption Behavior Program in Adulthood. Journal of Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi. 29(1), 78-91. (in Thai).
Nanpassaporn, S., & Jiraporn, K. (2017). Effects of Promotion Self-Regulation Program
on Eating Behaviors and Waist Circumference in Older Patients with Obese Diabetes. Royal Thai Navy Medical Journal. 44(3), 85-102. (in Thai)
Orratai, W., Thaksaphon, T., & Jintana J. (2014). Alcohol‘s Harm to Others in Thailand:
Concept, Situation and Gap in Knowledge. Journal of Health Systems Research. 8(2), 111-119. (in Thai).
Phorntip, L. (2012). Effectiveness of Self-Regulation for Health Behavior Change in
Personnel with Obesity Risk, Lerdsin Hospital. Journal of Nursing Division. 39(3), 21-37. (in Thai).
Sompob, M., Jirapa, C., & Supansa, W. (2017). Effectiveness of the Integration
Treatment Program for People with Alcohol Abuse in Chiangmuan Hospital,
Phayao Province. Region 4-5 Medical Journal. 36(2), 89-100. (in Thai).
Sukanya, K., Jirawan, T., & Jaynrob, P. (2017). Alcohol-drinking behavior of
grandparents rearing children under 5 years old in one district Khon Kaen province. [online], Available: https://jes.rtu.ac.th/rtunc2017/pdf/OHS_195_full.pdf.
(2018,2 January).
Supinya, K., Chodchoi, W., & Teeranut, H. (2013). Effects of a Self-Regulation Program
for Blood Pressure Control on Self-Regulation Behaviors, Blood Pressure Level and Stroke Risk among Thai Muslim with Hypertension. Nursing Journal. 40(1), 23-33. (in Thai).
Surasak, C., Kannapon, P., & Thaksaphon, T. (2013). Provincial Alcohol Report 2011.
Nonthaburi: Center of Alcohol Studies.
Suriporn, P., Nirat, I., & Warakorn, K. (2017). Self-Regulation to Promote Dietary and Exercise Behaviors of Type II Diabetic Patients of Ban-Nongchado Sub-District
Health Promoting Hospital, Suphanburi Province. Journal of Health Education.
40(1), 69-81. (in Thai).
Ukrist, P., et al. (2016). The country's alcohol production industry In ASEAN, there are
opportunities and trends affecting Thailand. [online], Available: https://www.cas.or.th/wp-content/uploads/2016/02/ebook-AEC-Alcohol.pdf. (2018, 2 January).
Wandee, T., Chuleekorn, D., Pongsakorn, L., & Duangporn, H. (2018). Effects of Brief
Intervention on hazardous drinking behaviors among working age, Sungmen District, Phare Province. Journal of Nursing and Health Sciences.7(2), 55-62.
(in Thai).
World Health Organization. (2014). Global status report on alcohol and health 2014.
[online], Available: https://www.who.int/substance_abuse/
publications/global_alcohol_report/en/. (2018, 15 January).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด