ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิตประกอบดนตรีมังคละต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • Suebtrakul Tantalanukul, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, ดนตรีมังคละ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

         ประเทศไทยได้เข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 ซึ่งมีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การออกกำลังกายช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถผ่อนคลายความตึงเครียด ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาวะที่ดีอันเป็นรากฐานสำคัญสำหรับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิตประกอบดนตรีมังคละต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

          รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลังการทดลอง

          วิธีดำเนินการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์จำนวน 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิตประกอบดนตรีมังคละเก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตและพฤติกรรมการออกกำลังกายก่อนและหลังการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที

          ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่คุณภาพชีวิตด้านร่างกายดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

          สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิตประกอบดนตรีมังคละมีความสำคัญและจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนต่อไป

 

References

จรรยา โลหาชีวะ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวัง การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

บรรลุ ศิริพานิช. (2542). ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ผาสุก มุทธเมธา. (2535). คติชาวบ้านกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และคณะ. (2548). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ ในระหว่างปี พ.ศ. 2533-2544 โดยการวิเคราะห์เมต้า. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์สูงอายุ, 6(1),2-12.

ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และ ปิยาณี คล้ายนิล. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 8(3),33-45.

ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และคณะ. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ. J Nurs Sci. 2012; 30 (2):35-45.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่.

อุทัย สุขสด และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันความต้องการ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-02