การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • Ratree Aramsin, Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันปัญหาด้านพฤติกรรมทางเพศในกลุ่มวัยรุ่นไทยเพิ่มสูงขึ้น เพศศึกษาในครอบครัวเป็นความรู้เบื้องต้นและเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพทางเพศ 

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นในครอบครัวและปัญหาการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น       

          วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้ปกครอง จำนวน 46 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก 14 ครั้ง และการสัมภาษณ์กลุ่ม 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม ถึง 15 ธันวาคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษา: การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นเกิดขึ้น ในบางครอบครัวแม่เป็นผู้มีบทบาทหลักในการสื่อสาร วิธีการสื่อสารเป็นการพูดคุย เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการเตือนไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและเรื่องการดูแลสุขอนามัยทางเพศ  มีเพียงไม่กี่ครอบครัวที่มีการพูดคุยเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย  ปัญหาอุปสรรคในการสื่อสาร คือ ความไม่มั่นใจในจังหวะเวลา และเนื้อหาที่ควรสื่อสาร จึงพบว่าพ่อแม่มักนำประสบการณ์ของตนเองมาเป็นแนวทางในการสื่อสารกับลูก ทำให้เนื้อหาไม่ครอบคลุมสาระของเพศศึกษา พ่อแม่ยังเชื่อว่าเรื่องเพศศึกษาเป็นเรื่องที่ลูกสามารถเรียนรู้ได้เองเมื่อโตขึ้นและเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูดถึง เพราะเกรงจะเป็นการชี้นำทำให้วัยรุ่นอยากรู้อยากลองและมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น

          สรุปและข้อเสนอแนะ: การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาของพ่อแม่กับกับลูกวัยรุ่นนั้นขึ้นอยู่กับทัศนคติ  ประสบการณ์ของพ่อแม่ พฤติกรรมของลูก และสภาพเหตุการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน 

 

References

จันทร์เพ็ญ สุริยาวงษ์, กรรณิกา สหเมธาพัฒน์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในจังหวัดเพรชบูรณ์. บทคัดย่อผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและ
อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

พรฤดี นิธิรัตน์. (2550). สถานการณ์การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นในครอบครัวไทย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 19 (1). น.43-57.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2549). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). จิตวิทยาการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

มธุรดา เจริญทวีทรัพย์, ธนวดี บุญลือ. (2545). แนวทางในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาในครอบครัว.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://www. thaithesis.org /detail.php?id=1082545001637.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2548). การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ต.

สุพัฒน์ สมจิตรสกุล, ทวีศักดิ์ นพเกษร และ อู่ทอง นามวงษ์. (2551). การจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.
นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง จำกัด.
อนงค์ ประสาธน์วนกิจ, ประณีต ส่งวัฒนา และบุญวดี เพชรรัตน์. (2552). ความเชื่อเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์และรูปแบบพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นและเยาชนในสถานศึกษาจังหวัดสงขลา. สงขลา
เวชสาร, 27(5) น.370-380.
อรไท พิพิธพัฒน์ ไพสิฐ, จินตนา แสงจันทร์ และคณะ. (2551). การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาในเยาวชน (Adolescents) ตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน สืบค้นจาก
http://wwwnno.moph.go.th/web_ssj/km/Research/Health%20Promotion/2551/15111.pdf.

Nicholas. L. (2002). Parent-Child Warmth and Communication Promote Health, Achivement, and Self-Esteem. in Alicia w. (2009). Retrieved form
http.//www.advocatesforyouth. org/the-facts-pare.
Santrock, J. W. (1996). Child Development. Medison:Brown & benchmark.

Spencer, J. P., Dow, R.J.(2000) Children ' s health. Philadelphia: Lippincott William & Wilkins.

Yearwood, E. L., Pearson G. S., Newland J. A.,(2012). Child and adolescent behavioral health. Chichester: Wiley-Blackwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-02