ผลการใช้นวัตกรรมทางการพยาบาลในการลดภาวะจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ได้ยาระงับความรู้สึกชนิดเฉพาะส่วนในโรงพยาบาลลำปาง

ผู้แต่ง

  • Benjaporn Parnmongkol, Anesthesia Group at Lampang Hospital

คำสำคัญ:

กระดาษสา, การรองแขน, ภาวะจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง

บทคัดย่อ

        ผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่รับบริการในโรงพยาบาลลำปาง  มักเกิดจุดเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนข้างที่วัดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ในผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมทางพยาบาล คือกระดาษสา หรือ Stockinette รองแขนก่อนพันถุงลมวัดความดันโลหิต ในการลดจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง วิธีการศึกษาเป็นแบบทดลอง (RCT) ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ได้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน โดยเปรียบเทียบตัวอย่าง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้กระดาษสารองแขนก่อนการพันถุงลมวัดความดันโลหิต และกลุ่มที่ใช้ Stockinette รองแขนก่อนการพันถุงลมฯ โดยกลุ่มที่ไม่ใช้วัสดุรองแขนก่อนการพันถุงลมฯ เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินการเกิดจุดเลือดออกบริเวณต้นแขนที่พันถุงลมวัดความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ, Fisher’s exact probability test  และ Ordinal logistic regression ตามลำดับ

          ผลการศึกษา พบว่าเกิดภาวะจุดเลือดออกใต้ผิวหนังในกลุ่มทดลองลดลงดังนี้ กลุ่มใช้กระดาษสารองแขนก่อนพันถุงลมวัดความดันโลหิต เกิดภาวะจุดเลือดออกใต้ผิวหนังชนิด severe pethichea เพียง 4 % แต่กลุ่มพัน stockinette ไม่เกิดภาวะจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เมื่อเปรียบเทียบการเกิดจุดเลือดออกใต้ผิวหนังระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p = 0.009

          ข้อเสนอแนะการใช้กระดาษสา หรือ Stockinette รองก่อนพันที่วัดความดันโลหิตลดการเกิดจุดเลือดออกใต้ผิวหนังได้ดีใกล้เคียงกันดีกว่าไม่พันวัสดุใดเลย แต่เนื่องจากกระดาษสามีราคาที่ถูกกว่า Stockinette  4.5 เท่า จึงสมควรจะใช้กระดาษสา

 

References

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2550). แนวทางการให้บริการทางวิสัญญีวิทยา. สืบค้น 24 กรกฎาคม 2554, จาก http://www.md.chula.ac.th/rcat/guide/guide.pdf

Lin, C.-C., Jawan, B., Villa, V.H., Chen, F.-C., & Liu, P.-P. (2001). Blood pressure cuff compression injury of the radial nerve. Journal of Clinical Anestheia, 13(4), 306-308.

Archer, L. J., & Smith, A. J. Blood pressure measurement in volunteers with and without padding between the cuff and the skin. Anaesthesia. 2001;56:847-849.

มณีรัตน์ ธนานันต์, ดวงธิดา นนท์เหล่าพล, พุ่มพวง กิ่งสังวาล, ชัยชนะ สินเกื้อกูล, และ วินิตา จีราระรื่นศักดิ์. (2546). การป้องกันอันตรายต่อผิวหนังจากการวัดความดันโลหิตโดยการใช้แผ่น
ฟิล์มถนอมอาหารพันแขนก่อนพันถุงลมวัดความดันโลหิต. วิสัญญีสาร, 29(2), 99-105.
พุ่มพวง กิ่งสังวาล, ดารณี ปราการกมานันท์, มณีรัตน์ ธนานันต์, ชัยชนะ สินเกื้อกูล, วิมลรัตน์ กฤษณะ ประกรกิจ, ไกรวาส แจ้งเสม, และคณะ. (2547). ความพึงพอใจของอาสาสมัครค่าความดัน
โลหิตและผลต่อผิวหนัง: เปรียบเทียบระหว่างการใช้กับไม่ใช้แผ่นฟิล์มถนอมอาหารพันแขนก่อนพันถุงลมวัดความดันโลหิตวัดความดัน. วิสัญญีสาร, 30(4), 176-181.
ชูศักดิ์ เวชแพศย. (2535). การมอนิเตอรทางคลีนิค หลักการ, เครื่อง, และวิธีการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Archer, L. J., & Smith, A. J. Blood pressure measurement in volunteers with and without padding between the cuff and the skin. Anaesthesia. 2001;56:847-849.

OMRON healthcare, INC. (2006). How do I know if the arm cuff is wrapped too tight or too loose?. Retrieved January 6, 2011, from http://www.omronhealthcare.com

ฐิติมา ชินะโชติ. (2548). Monitoring ขณะให้ยาระงับความรู้สึก. ใน อังกาบ ปราการรัตน์ และ วรภา สุวรรณจินดา (บรรณาธิการ), ตำราวิสัญญีวิทยา (น. 171-181). กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.

Williams Phillips, M. D., Schroeder, T. L., & Levy, M. L. (2003). Vascular purpura and diseases of blood vessels. In J. Loscalzo, & A. Schafer (Eds.), Thrombosis and
hemorrhage (3rd ed., pp. 945-949). Philadelphia: Lippincott & Wilkins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-02