การศึกษาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีหมวดเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ระบบสุขภาพปฐมภูมิ, ความเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, คลินิกหมอครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริการ ปัญหาและความต้องการ รวมถึงแนวทางในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ในคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีหมวดเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตามแนวคิดการบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย กรรมการชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุและครอบครัว บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีหมวดเกล้า จำนวน 21 คน และการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริการคลินิกหมอครอบครัวที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ มีความครอบคลุมหลายด้าน ได้แก่ การให้ความเคารพและยอมรับในคุณค่า การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การบริการชุมชนและการบริการสุขภาพ การให้บริการเชิงรุก การให้ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยมีปัญหาและความต้องการพัฒนา ได้แก่ 1.1) การจัดบริการที่เฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การจัดสถานที่เพิ่มเติมที่เป็นสัดส่วน การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยในคลินิกและที่บ้าน การจัดระบบขนส่งที่เอื้อต่อการเดินทางมารับบริการ 1.2) การให้ความรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อลดการพึ่งพา 1.3) ความต้องการด้านการจัดหากองทุนและเงินช่วยเหลือ 2) แนวทางในการพัฒนา ประกอบด้วย 2.1) ควรวางแผนการพัฒนาระบบบริการที่เฉพาะสำหรับผู้สูงอายุด้วยการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสมให้เป็นสัดส่วน มีความสงบ ใกล้ชิดธรรมชาติ 2.2) การจัดระบบขนส่งยานพาหนะให้ผู้สูงอายุสามารถสะดวกเดินทางมารับบริการได้สะดวก 2.3) การปรับสภาพที่อยู่อาศัยสำหรับบางครอบครัวที่มีปัญหา 2.4) การให้ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศทางด้านสุขภาพ รวมถึงการนำนวัตกรรม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุ ในกลุ่มที่สุขภาพไม่แข็งแรงและมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายเพื่อลดการพึ่งพาให้น้อยลง 2.5) การจัดหากองทุน สวัสดิการช่วยเหลือเพิ่มเติม ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นหรือเพิ่มการจ้างงานเพื่อหารายได้เสริม ภายใต้การสร้างความตื่นตัวในเรื่องนโยบายการบริการที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชน การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมการมีทัศนคติในเชิงบวกของคณะทำงานในชุมชนโดยเน้นการบริหารจัดการที่ยึดผลประโยชน์ส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง เพื่อให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
References
Davis, L.E.(1995). Enhancing the quality of working life: developments in the United States.
Department of Health, Ministry of Public Health. (2014). Global Age - Friendly Cities: A Guide. Bangkok: Office of the War Veterans Organization Printing House. (in Thai)
Department of Health. (2011). Rights under the Elderly Act. Friends Newsletter, Sangsuk. 6 (60), 6-7. (in Thai).
Gibson, C.H.(1991).A Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advance Nursing, 16, 354-361.
Hoontrakul D., et al., (2008). Development of Age-Friendly Primary Health Care: Case Study of One Primary Care Unit. Journal of Nursing Research. 12 (2), 131-141. (in Thai)
Kaichaiyaphum P., and Sirichot P.. (2011). Welfare needs of the Elderly in Nonthai Municipality
Nonthai District, Nakhon Ratchasima Province. Humanities & social science. 28 (1),85-100. (in Thai)
Kumanjan W., (2017). Age Friendly Service in Tambon Health Promoting Hospital of Khuntalae,
Suratthani Province. Journal of the Ministry of Public Health. Vol 27: Special Issue December 2017 (in Thai)
Lorga T., (2018). Group discussion on the development of primary care systems that are friendly to the elderly. Direct experience. March 22, 2018. (in Thai)
National Statistical Office. (2007). Report of the Survey of the Elderly Population in Thailand 2007. Bangkok: Bureau of Social Economic Statistics and Referendum 1, National Statistical Office. (in Thai)
National Statistical Office. (2009). Summary of results for the management of Thai mental health survey year 2009. [Online], Available: https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/mentalHealthExec52.pdf . (2019, 26, Febuary). (in Thai)
Ngamsri C., (2007). Work conditions of elderly care volunteers at home. Case study of the
Development Office Society and Welfare, Bangkok 7 (Taling Chan). Master of Art Thesis, Loei Rajabhat University. (in Thai)
Poonpanich Y., and Uthaisaengphaisan S., (2014). Community Healthcare Promotion: Preparing
for Aged Society. Journal of Health Science. 23(2), 161-171. (in Thai)
Rungmuangthong W., (2010). Assessment of the elderly care volunteer project at home: A case
study of Phetchaburi province. Faculty of Social and Environmental Development National Institute of Development Administration. (in Thai)
Sarye K., (2017). Study of long-term care models for the elderly in Japan and Thailand. The 9th National Symposium on Disabilities 2017. Development Master Plan Committee. (in Thai)
Sittipreechachan P., and Priyatruk P.. (2014). Community Health Care System Development Process: 14 Case Studies of Communities in Central Region. Journal of Public Health Nursing. 28(1) 1-15. (in Thai)
Sittipreechachan P., Priyatruk P., and Chotkakam Y.,(2012). Community Participation in the Process of Care of Elderly at MABCARE Subdistrict. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 13(2),8-17. (in Thai)
Strategy and Planning Division Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2016). Strategic plan. Ministry of Public Health: Office of the Permanent Secretary. (in Thai)
Tapasee W., Danpradit P., and Rattanawijit S., (2017). Health Care Service Model for Elderly by Community Participation, Wangtagoo Subdistrict, Nakhon Pathom Province. Kuakarun Journal of Nursing. 24(1), 42-54. (in Thai)
Upatum P., (2016). Health Information SeekingBehavior of Elderly . Parichart Journal. . 29(2); 71-87. (in Thai)
Wirojratana V., et al. (2014). Improvement of Healthcare Services for Dependent Elders. Thai Journal of Nursing Council. 29 (3) : 104 – 115. (in Thai)
Yotphet S., (2007). Long-term care model in families and communities. Thai Society of Gerontology and Geriatric Medicine. 8(3), 1-9. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด