พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ของนักเรียนวัยรุ่นในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
อาหารจานด่วน, พฤติกรรมการบริโภค, นักเรียนวัยรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ของนักเรียนวัยรุ่น ในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 188 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นจากประชากรนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในกรศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย อายุ 16 ปี กำลังศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ชั้นปีที่ 1 มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้รับเงินค่าใช้จ่าย อยู่ในช่วง 401 - 500 บาทต่อสัปดาห์ ร้อยละ 36.14 มีความรู้ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ระดับมาก มีค่านิยมและพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ระดับปานกลาง
การเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ตัวแปรด้านภาวะโภชนาการ ของกลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) และไม่พบความแตกต่าง ของตัวแปรข้อมูลทั่วไปอื่นๆของกลุ่มตัวอย่าง กับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก และค่านิยมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วน แบบตะวันตก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01)
References
communicable diseases, 2012. Chumphon: Chumphon Printing and Design.[in Thai]
Jenipa kong-im (2014). Fast Food Consumer Behavior in Nonthaburi Province . Journal of
Humanities and Social Sciences, Rajapruk University. 5(2),40-50.[in Thai]
Khreamard Meekasem.(2011). Studying the behavior consumption fast foods of working people
in Bangkok. Master of Business Administration,
Graduate school Bangkok university.[in Thai]
Lalada Chansomboon. (2008). Fast food consumption behavior of teenagers in Phetchaburi
Province Independent Study. Master of Business Administration Program, Faculty of
Business Administration, Chiang Mai University.[in Thai]
Paveenapat Nithitantiwat, Warangkana Udomsapay.(2017). Food Consumption Behavior among
Thai Adolescents, Impacts, and Solutions. Journal of Phrapokklao Nursing College.
28(1).122-128. [in Thai]
Supanan Suwansit.(2015). Behavior According to Sustainable Consumption Concept of People in Mueang Chiang Mai Towards Western-Style Fast Food. Independent Study Master of
Business Administration Program in Marketing, Faculty of Business Administration,
Chiang Mai University.[in Thai]
Theerawee Waratornpaiul. (2014). Consumption Behavior: Consumerism Food and Health-
Conscious Food. Panyapiwat Journal. 5(2), 255-264.[in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด