Developmental of Life Style Modification Promoting Program toward Blood Sugar Level among Type 2 Diabetes Mellitus Patients
คำสำคัญ:
การพัฒนา, โปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ 2) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยส้ม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะศึกษาและพัฒนารูปแบบกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จำนวน 20 คน กลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 20 คน ระยะศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ fisher’exact test และ t-test
ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่ากลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีการปฏิบัติพฤติกรรมด้านอาหารและการใช้ยาอยู่ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ย 26 (SD=4.08) และ 12.6 (SD=2.35) ตามลำดับซึ่งสูงกว่าในกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ซึ่งมีพฤติกรรมด้านอาหารและการใช้ยา อยู่ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ย 23.4 (SD=5.14) และ 12.2 (SD=2.18) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพฤติกรรมด้านออกกำลังกายในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้อยู่ระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.65(SD=2.91) แต่กลุ่มที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้มีพฤติกรรมอยู่ระดับน้อยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.1 (SD=3.14) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับพฤติกรรมด้านอารมณ์ และพฤติกรรมด้านอบายมุขอยู่ในระดับปานกลางเหมือนกันทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัยในระยะที่ 2 โปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดประกอบด้วยการเยี่ยมบ้าน และการพัฒนานวัตกรรมการรับประทานยา ซึ่งภายหลังทดลองใช้ในผู้ป่วย 10 รายพบว่าผู้ป่วย 7 รายระดับน้ำตาลลดลง อีก 3 รายระดับน้ำตาลเท่าเดิม และทั้ง 10 รายไม่มีอาการหรืออาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
ข้อเสนอแนะ โปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งนี้สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวานในบริบทอื่นเพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อไป
References
นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี, ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2559). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร: 43 (supple);104-115.
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: บริษัทร่มเย็นมีเดียร์จำกัด.
ชุติมา ลีลาอุดมลิปิ.(2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยผี้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ: 64-75.
พรสวรรค์ มีชิน, รติกร เพ็ชรประกอบ และเหมือนชนก สุจริต. (2545). ศึกษาความแตกต่างในการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้กับผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ระยับเดือน เรือนคำ. (2549). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ ทัศนคิ และทักษณะการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอาสาสมัครสาธารณสุข. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฤทธิรงค์ บูรพันธ์ และนิรมล เมืองโสม.(2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์,1(3):102-109.
สุนทร วิริยะพันธ์. (2555) ประสิทธิผลของโปรแกรมการรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุปรียา เสียงดัง. (2558). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ สาธารณสุขภาคใต้. 4(1): 191-204.
อัมรา ทองหงษ์, กมลชนก เทพสิทธา และภาคภูมิ จงพิริยะอนันต์. (2556). รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง ปี พ.ศ.2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 44(51): 801-808.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด