ถอดบทเรียน นวัตกรรมบริการ “ลงขันพัฒนา” สู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ในเขตพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • Mrs. kobkul sawongtui Thoen Hospital 96/5 Moo. 7 Tambon Lomrad Amphor thoen lampang province 52160

คำสำคัญ:

นวัตกรรมบริการ, ลงขันพัฒนา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว

บทคัดย่อ

        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพของประชาชนในระดับปฐมภูมิ ดังนั้นการพัฒนาจึงมีความจำเป็นและสำคัญโดยเป้าหมายของการพัฒนาก็คือเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุขและมีระบบสุขภาพที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนนวัตกรรมบริการ “ลงขันพัฒนา” ที่มีการปรับเปลี่ยนระบบบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจนผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ในเขตพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทีมผู้บริหาร ทีมนำอำเภอ และทีมผู้ปฏิบัติงาน รวม 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลไปพร้อมกันกับการดำเนินการพัฒนาในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่เดือน มกราคม – สิงหาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและ และการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการศึกษา การลงขันพัฒนาเป็นการดำเนินงานพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างเป็นระบบ โดยมีองค์ประกอบในการดำเนินงาน ได้แก่ ทีมผู้บริหาร ทีมนำอำเภอ และทีมผู้ปฏิบัติงานที่ร่วมมือกันพัฒนางานให้สำเร็จได้ภายในบริบททีมีข้อจำกัดทั้งด้านระยะเวลา และจำนวนบุคลากร และผลลัพธ์ภายหลังการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินงานด้วยนวัตกรรมบริการ “ลงขันพัฒนา” อย่างต่อเนื่อง พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง สามารถพัฒนางานได้รวดเร็ว มีการประเมินตนเองผ่านเกณฑ์ระดับอำเภอทุกแห่ง และมีจำนวน 6 แห่ง ได้รับคัดเลือกให้เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวระดับจังหวัด และมีอีก 2 แห่ง ที่ผ่านการประเมินติดดาว ระดับเขตสุขภาพที่ 1 ในปีงบประมาณ 2558 และปีงบประมาณ 2560 โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จของ “ลงขันพัฒนา” คือ ความร่วมมือบนพื้นฐานหัวใจสำคัญของความเข้าใจระบบงาน ความสามัคคีของทั้งทีมผู้บริหาร ทีมนำอำเภอ และทีมผู้ปฏิบัติงาน ผ่านการให้ขวัญกำลังใจและความเป็นหนึ่งเดียวของการพัฒนา

คำสำคัญ: นวัตกรรมบริการ, ลงขันพัฒนา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว

References

Chadchai Panichcheep Sackarin Khaison. (2015). Development of Participatory Supervision
Model for Enhancing the Quality of the Tambon Health Promotion Hospitals in
Bamnetnarong District, Chaiyaphum Province. Journal of Nursing of Education Volume
8(2), 141-143.

Denzin. (1970).The research act: A theoretical introduction to sociological methods.
Chicago: Aldine Publishing Company.

Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. (2018). Criteria for judging innovation.
[Online], Available: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/download_files/ 795_18_1.pdf
(2018, 9, December).

Jumpol Nimpanich and Wornwaluncha Rojanapol. (2016). Data analysis for qualitative
research. [Online], Available: https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/
UploadedFile/%E0%B8%99.%207%20.pdf.

Linjong Boonthanom and Lampoo neamwong. (2017). The effects of Participatory
Management on the IC quality in Tambon Health Promotion Hospital of Bampong
district. TUH Journal online. 2(3), 29-30

King Noipong et al. (2018).Job satisfaction and prepared to receive an assessment.
sub-district health promotion, Thoen District, Lampang, Interviewed,
June 15, 2018.

Kitisak Danviboon, Pisith Intarawongchot, Maneewan Tangkajornsak and Saowaluk Sajja.
(2013). The effectiveness of out-patient department (OPD) service development of
Nongkai Hospital and its primary care unit network. J Prapokklao Hospital Clinic Med
Education Center. 30(1), Jan-Mar, 2013.

kobkul sawongtui. (2018). The results of the development of sub-district health promotion hospital. The conference
document, the summarizes results of the strategic
development, Thoen Hospital, 2018.

Mingkhun Mahayot et al. (2018). The problem of job development in sub-district health
promotion hospital, Thoen District, Lampang. Direct experience. Interviewed,
March 22, 2018.

Strategy and Planning Division, Ministry of public health (2018). The guideline development
of sub-district health promotion hospital Star. Nonthaburi: Ministry of public health.
Summana SimuiI. (2010). The Efficiency Work Education is Team of Personnel Sub District

Admintration Organization in non Thai District, Nakhon Ratchasima Province.
Independent study, Master of degree, School of Civil Engineering, Suranaree University Technology.

Tanakorn Kornwhacharajareon. (2012). Factors Affecting Team Efficiency of Employees of
Quality Houses Public Company Limited. Independent study, Master of Business Administration, Faculty of
Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-13