ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านแม่ละอุป อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Nittaya Maneekeang, Registered Nurse, Professional Level โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ละอุป อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
  • Piroj Loahang, Registered Nurse, Practitioner Level
  • Surasit Teamtip, Public Health Executive สาธารณสุขอำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
  • Decha Tamdee, Associate Professor คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเรื้อรังจำนวน 109 คน มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 23.85 โดยเป็นเพศหญิงจำนวน 20 คนและเพศชาย จำนวน 6 คน เพศหญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย 3.37 เท่า (95%CI= 2.12-16.67) พบในผู้สูงอายุ จำนวน  17 คน คิดเป็นร้อยละ 65.39 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่มีผู้ดูแลมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ป่วยเรื้อรังที่มีผู้ดูแล 1.27 เท่า (95%CI= 1.01 – 13.71) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่มีงานทำมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีงานทำ 2.2 เท่า (95%CI= 1.7 – 12.43) จากการศึกษาด้านสถานภาพ สถานภาพสมรสต่างกันมีภาวะซึมเศร้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยส่วนบุคคล เรื่อง เพศ อายุ  รายได้ โรคที่เป็นอยู่ ภาวะแทรกซ้อน การรักษา การสูบบุหรี่ และ การดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลผู้ป่วยพบว่าผู้ที่มีสถานภาพสมรสต่างกันมีภาวะซึมเศร้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับรู้เรื่องโรค มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 (r = -.345 , p =.000 ) ผู้ป่วยซึมเศร้ามีคะแนนการรับรู้เรื่องโรคต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่พบภาวะซึมเศร้า 3.4 เท่า (95%CI= 2.3-26.21) ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ( r = .301 , p = .001 )  ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดีมากกว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า 1.3 เท่า (95%CI= 1.02 – 9.67) และการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า

สรุปปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าที่ได้สามารถนำใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนการดูแลเพื่อป้องกันหรือลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.2558.แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุข
โรงพยาบาลชุมชน.พิมพ์ครั้งที่2.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด:กรุงเทพฯ.

ชโลม วิเศษโกสิน. 2552. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของครอบครัวกับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
ของผู้ดูแลที่เป็นญาติ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

บุษรา ราชรักษ์. 2549. สัมพันธภาพกับครอบครัว การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยความสามารถใน
การส่งเสริมในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน และความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่เขารับการรักษาใน
โรงพยาบาลใจจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการ
พยาบาลครอบครัวและชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุษราคัม จิตอารีย์ .2555 .ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม.
วิทยนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ปัฐยาวัชร ปรากฏผล, เยาวดี สุวรรณนาคะ, อรุณี ไชยฤทธิ์, บุญสืบ โสโสม, สราวุฒิ สีถาน,
มยุรี สร้อยศรีสวัสดิ์ และคณะ, 2558.คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีและไม่มี
ภาวะแทรกซ้อนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง[เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4371?locale-attribute=th

ภรภัทร อิ่มโอฐ. 2550. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยคริสสเตียน.

รสสุคณธ์ เจืออุปถัมย์ . 2553. ความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านวิทยานิพนธ์
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สายพิณ ยอดกุล และคณะฯ.2555.ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาใน
โรงพยาบาลบุรีรัมย์.วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีที่ 30 ฉบับที่ 3:
กรกฎาคม - กันยายน 2555.หน้า50-56.

ยุทธศาสตร์ จันทร์ทิพย์ .2560. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในเขตชุมชนใกล้เมือง
จังหวัดเชียงใหม่วารสารสาธารณสุขล้านนา ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560.

สมชาย จักรพันธุ์.2551.สถานการณ์ข่าวสุขภาพ.[เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://www.hiso.or.th/hiso/health_event/ghealth_event16.php

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และคณะฯ.2557.ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.วารสาร
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2557; 59(3): 287-298 .

สายพิณ ยอดกุล .2555.ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์.
วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่ : 30 ฉบับที่ : 3 เลขหน้า : 50-57 .

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกระทรวงสาธารณสุข. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของ
ประชากรไทยพ.ศ. 2547. 2552.

Papadopoulos, FC., Petridou, E., Argyropoulou, S., Kontaxakis, V., Dessypris, N., Anastasiou,
A. 2005. Prevalence and correlates of depression in late life: a population based
study from a rural Greek town. International Journal of Geriatric Psychiatry. 20(4):350-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-18