พยาบาลคัดแยกประเภทผู้ป่วย : จากกระบวนการหลักสู่การปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • surat sukswang, Head Nurse ER.,Wang Noi Hospital wangnoi Hospital

คำสำคัญ:

พยาบาลคัดแยก, ประเภทผู้ป่วย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวน 1) ประวัติความเป็นมา กระบวนการหลัก บทบาทและคุณลักษณะที่ดีของพยาบาลคัดแยกผู้ป่วย 2) ความรู้ ทักษะของพยาบาลคัดแยกผู้ป่วย รวมถึงการบันทึกข้อมูลการคัดกรองผู้ป่วยบนแนวคิดตามแนวทางการคัดแยกของ Emergency Severity Index (ESI) Version 4 ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งอาจจะใช้หลักการคัดแยกประเภทผู้ป่วยของ The Australasian Triage Scale หรือ The Canadian Triage and Acuity Scale หรือ MOPH ED. Triage

สาระสำคัญของกระบวนการหลักในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ 1) ประเมินภาวะคุกคามชีวิตทันทีเมื่อผู้ป่วยมาถึง 2) ประเมินหาอาการของโรคติดต่อร้ายแรงที่กำหนดไว้  3) ซักถาม อาการสำคัญ การเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ประเมินร่างกายเฉพาะที่เกี่ยวข้องและวัดสัญญาณชีพ 4) กำหนดระดับความรุนแรงและติดเครื่องหมาย/สัญลักษณ์ 5) จัดส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตามลำดับความรุนแรงที่กำหนดไว้  6) ดูแลให้การพยาบาลเบื้องต้นกับผู้ป่วยในพื้นที่รอตรวจ  7) ติดตามประเมินอาการผู้ป่วยซ้ำเพื่อให้ระบบคัดกรองมีประสิทธิภาพ       สำหรับความรู้และทักษะของพยาบาลคัดแยกผู้ป่วย  ได้แก่  1) ทักษะการประชาสัมพันธ์ 2) ทักษะการสัมภาษณ์ 3) การคิดเชิงวิพากษ์/ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) ทักษะการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือลดอุบัติการณ์เสี่ยงในผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต

References

Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public
Health. (2016). Middle East Respiratory Syndrome (MERS) in South Korea. [Online],
Available: https://beid.ddc.moph.go.th.

Emergency Severity Index (2012.).A Triage Tool for Emergency Department Care Version 4:
Implementation Handbook; 2012. from https://www.ahrg.gov P.7-16.

Maree H,Brigid G, Julia C, Wendy C. Triage: an investigation of the process and potential
vulnerabilities. Journal of Advanced Nursing, 70(7), 1532.

Moskop JC Iserson KV. (2007). Triage in medicine, part I: Concept, history and types.
Ann emerg med, 49(3):275-81.

Porntip Wachiradilok et al. (2016) A Nationwide Survey of Thailand Emergency Departments
Triage Systems. Thai Journal of Nursing Council. 31(2), 96-108. (in Thai).

Rattapong Burivong et al. (2018). MOPH ED Triage. 2nd ed. Nonthaburi: Department of
Medical Services, Ministry of Public health. (in Thai).

Surat Sukswang. (2018). An Evaluation Report of ECS Assessment Team (AYECS).
Phra Nakhon Si Ayutthaya: AYECS.

The Canadian Triage and Acuity Scale. (2013). Participant’s Manual. Triage Training Resources.
Version 2.5 b; November. [Online], Available: https://ctas-phctas.ca/wp- content/
2018/05/participant_manual_v2.5b_november_2013_0.pdf. (2018, 30, November).

The National Institute for Emergency Medicine. (2012). Emergency Medical Triage Protocol
and assign an acuity level. Bangkok: NIEM. (in Thai)

Waree Wanichpunchaphol. (2010). Critical Thinking for Nurses. Journal of Nursing Division.37(3), 131-140. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-11