ประสบการณ์การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สุนัน กันคำ รพ.สต.บ้านห้วยแก้ว อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

อายุยืนอย่างมีคุณภาพ, ปัจจัยกำหนดสุขภาพทางบวก, ปัจจัยกำหนดสุขภาพทางลบ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งจะส่งผลให้ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง แต่ถ้าผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีอายุยืน อย่างมีคุณภาพก็จะช่วยลดภาระการดูแลทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และภาครัฐ การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุภายใต้กรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ และความ สอดคล้องของปัจจัยกำหนดสุขภาพ ในด้านปัจเจกบุคคล ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านระบบบริการสุขภาพที่ส่งผลให้ ผู้สูงอายุมีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน ที่ไม่มีโรคประจำตัว สามารถช่วยเหลือตนเองและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา: การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจเจกบุคคล (ทางชีวภาพ จิตใจ และพฤติกรรม) ด้านสิ่งแวดล้อม (ทางกายภาพ ชีวภาพและสังคม) และด้านระบบบริการสุขภาพ ซึ่งทั้ง 3 ด้าน เป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพทางบวกที่ทำให้การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุมี อายุยืนอย่างมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะ: ควรนำความรู้จากการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนอย่างมีคุณภาพที่สอดคล้องกับ ปัจจัยกำหนดสุขภาพทางบวก โดยเฉพาะด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย การ จัดการอารมณ์ การดูแลสุขภาพ การพักผ่อน ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อ การมีอายุยืนไปเผยแพร่และส่งเสริมการปฏิบัติตัวในเชิงป้องกันกับกลุ่มวัยอื่นๆ ได้แก่ เด็กปฐมวัย วัยเรียน วัย ทำงาน และขยายผลไปยังหน่วยงานและองค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปวางแผนในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในกลุ่มวัย อื่นๆ ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-01