ปัญหาความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ปัญหา, ความต้องการ, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพเป็นการบริการที่ต้องเผชิญกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและเกิดความพึงพอใจสูงสุด ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการที่เข้ามารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลดอยสะเก็ด ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลดอยสะเก็ด จำนวน 396 ราย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามปัญหาและความต้องการและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ88.46 (SD = 1.35)ด้านความสะดวกและด้านคุณภาพการบริการคะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.02 (SD = 1.03) และ 15.85 (SD = .36) ตามลำดับ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านอุปกรณ์การรักษา ด้านการประสานงาน ด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการ คะแนนอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.75 (SD = .43) 13.18 (SD = .38) 14.80 (SD = .39) และ 14.85 (SD = .36) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้บริการ คือ การจัดการให้บริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น การมีป้ายติดประกาศบอกรายละเอียดขั้นตอนให้ชัดเจนการปรับพฤติกรรมบริการที่ดีและการมีความมั่นใจในตนเองให้บริการพยาบาลด้านอุปกรณ์การรักษาที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการรักษาด้านคุณภาพการบริการได้แก่การให้บริการที่สนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครบถ้วนและการพยาบาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะกับสถานการณ์ด้านการประสานงานได้แก่การประสานงานผ่านทุกช่องทาง ด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการเจ้าหน้าที่ได้แก่ให้ข้อมูลคำแนะนำต่างๆแก่ผู้ป่วยและญาติมากยิ่งขึ้นและควรให้คำแนะนำผู้ป่วยเฉพาะโรคที่มารับการรักษาเพื่อผู้ป่วยและญาติจะได้นำไปปฏิบัติตัวตามคำแนะนำได้ถูกต้อง ซึ่งทางโรงพยาบาลดอยสะเก็ดจะนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาระบบการให้บริการด้านสุขภาพที่หน่วยผู้ป่วยนอกต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด