ศักยภาพชองชุมชนในการดแลผู้ป่วยติดเตียง เขตพื้นที่อําเภองาว จังหวัดลําปาง
คำสำคัญ:
ศักยภาพของชุมชน, ผู้ป่วยติดเตียงบทคัดย่อ
ศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการมีแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุน การดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยคนของชุมชนเอง จะมีผลต่อการดูแลและทําให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน นั้นดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงศักยภาพของชุมชมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงทั้งในประเด็นของระบบและแนว ทางการดูแลผู้ป่วยด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่ม ตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้นําชุมชน ผู้แทนกลุ่มองค์กร บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข ประจําหมู่บ้าน แกนนําผู้สูงอายุ กลุ่มจิตอาสาในชุมชน จํานวน 41 ราย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณ ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา: ในด้านศักยภาพของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง พบว่าระดับความคิดเห็นในการปฏิบัติ กิจกรรมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง พบว่า ด้านอุปกรณ์และการจัดบริการเกี่ยวกับศูนย์กายอุปกรณ์ยังมี น้อยและมีไม่เพียงพอในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยติดเตียง ( xˉ =1.95, SD.= 0.74 ) และการจัดบริการติดตามเยี่ยม บ้านด้วยกลุ่มจิตอาสาในชุมชนยังมีน้อย ( xˉ = 1.20, SD.= 0.64 ) สําหรับการศึกษาในเชิงคุณภาพจากการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า ศักยภาพของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงประกอบด้วย 1) ระบบการดูแลของ บ้านและชุมชนที่เข้มแข็งทั้งด้านบุคคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และการบริหารจัดการที่ดี 2) การประยุกต์ใช้ นวัตกรรมการดูแล การมีศูนย์กายอุปกรณ์และการประสานงานในชุมชนกับทีมหมอครอบครัว การจัดหาอาชีพเพื่อ สร้างรายได้ให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล และ 3) การประสานกลุ่มภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งของกลุ่มแกนนําในชุมชนเพื่อ เป้าหมายของผู้ป่วย คือ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้ สรุปและข้อเสนอแนะ: ชุมชนควรจัดทําแผนพัฒนาการเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยการ จัดระบบการบริการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์กายอุปกรณ์ให้มีเพียงพอ การจัดบริการเยี่ยมบ้าน ด้วยกลุ่มจิตอาสาให้เพิ่มมากขึ้น การสนับสนุนงบประมาณให้กับกลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแลเพื่อหวังผลให้ผู้ป่วยติดเตียง สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด