ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เขตพื้นที่อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ นันตาดี อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง
  • ศิริภรณ์ ทองคํา อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง
  • วิชุดา ศรียุทนา อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง

คำสำคัญ:

ปัญหาและความต้องการ, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโดยผู้ดูแลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในบริบทของประเทศไทยอย่างไรก็ตาม ผู้ดูแลเหล่านี้มักประสบปัญหาดานร่างกาย จิตใจ และมีความต้องการการสนับสนุนเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพ มากขึ้น การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการศึกษาเชิง พรรณนาโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหรือญาติผู้ป่วยที่มารับบริการและขึ้นทะเบียนจากคลินิกผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมอง โรงพยาบาลเถิน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลอําเภอเถิน จังหวัดลําปาง ที่มีอาการหลอด เลือดสมองตีบ แตก ตัน และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1-15 กรกฎาคม 2558 จํานวน 109 คน ซึ่งส่วนที่ 1 ข้อมูล ทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส สัมพันธภาพกับผู้ป่วย ประเภทการอยู่อาศัย จํานวน บุคคลที่ต้องรับผิดชอบดูแล ระยะเวลาที่ดูแลผู้ป่วย การรับรู้การดูแล ข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ดูแล และส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ด้านบุคคล เวลา งบประมาณ และวัสดุสิ่งของ ผลการศึกษา: ปัญหาของกลุ่มผู้ดูแล คือ การขาดความรู้ในเรื่องการดูแลผู้ป่วย ขาดความรู้เกี่ยวกับโรค ของผู้ป่วย การขาดความมั่นใจในการดูแล และที่สําคัญคือการขาดความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้ใน กลุ่มผู้ดูแลยังมีปัญหาด้านสุขภาพทั้งในเรื่องโรคประจําตัวของตนเอง และระยะเวลาที่ต้องดูแลผู้ป่วยเป็นระยะ เวลานาน สําหรับความต้องการของผู้ดูแล ประกอบด้วย ความต้องการคนที่จะมาช่วยดูแลเพิ่ม การสับเปลี่ยน การดูแล รวมทั้งความช่วยเหลือจากหน่วยงานในพื้นที่ทั้งจากจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครหรือจิต อาสาในชุมชน โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตําบล รวมถึงกองทุนต่างๆ ที่จะมาช่วย สนับสนุนทั้งด้านกําลังคนที่จะเป็นจิตสาอาของคนในชุมชน การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ที่จะมาช่วย ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ข้อเสนอแนะ: การเพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแล อาการของโรค และ ทักษะเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและมีความพร้อมในการดูแล การส่งเสริมสุขภาพของผู้ดูแลให้แข็งแรง ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคประจําตัว การแสวงหาวิธีเพื่อลดระยะเวลาในการดูแลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การเพิ่มกลุ่มจิตอาสาด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อลดความเหนื่อยล้าของ ผู้ดูแล อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-01