ความชุกของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชนบทเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
ภาวะสมองเสื่อมเป็นความเจ็บป่วยที่เกิดกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นผู้สูงอายุ มีความ เสี่ยงเพิ่มมากขึ้นต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือด (Vascular Dementia) และมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Descriptive cross - sectional study ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดัน โลหิตสูง ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตําบลหนองหาร จํานวน 210 คน ในปี 2555 งานวิจัยชิ้นนี้ได้ ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยด้านสาธารณสุขในคน จังหวัดเชียงใหม่ โดยทําการประเมินผู้ป่วยด้วย แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น (Mini Mental State Examination -Thai 2002: MMSE) และแบบสัมภาษณ์ข้อมูล สถานภาพทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม พฤติกรรมเสี่ยงด้าน สุขภาพ และเก็บข้อมูลโรคร่วม ข้อมูลการรักษา ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับไขมันในเลือด จากแฟ้มประวัติการ รักษาผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 20 ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 11.9 ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับมีสถานภาพ หย่า / แยก คิดเป็นร้อยละ 33.33 ร่วมกับไม่ได้เรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 31.03 ร่วมกับมีอายุในช่วง 80 – 89 ปีพบความ ชุกของภาวะสมองเสื่อมสูงกว่าช่วงอายุอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20.83 ร่วมกับมีภาวะซึมเศร้า คิดเป็น ร้อยละ 19.05 ร่วมกับผู้ที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 16.66 ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าผู้ที่เคยสูบและหยุดสูบแล้ว คิดเป็นร้อยละ 16.66 ร่วมกับ ผู้ที่มีระดับ Cholesterol และ Low Density Lipoprotein สูงกว่าค่าปกติคิดเป็น ร้อยละ 12 ในขณะเดียวกันพบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นเพศหญิงมีความชุกของภาวะสมองเสื่อมสูงกว่า เพศชาย จากการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเพื่อนําไปสู่การ ค้นพบโรคได้เร็วขึ้นและเพื่อการป้องกันหรือยืดระยะเวลาของการเข้าสู่ late stage of Dementia รวมถึงการ วินิจฉัยโรคที่ถูกต้องซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด