ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความผิดพลาดของค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสีที่เปลี่ยนแปลงไปเทียบกับอายุการใช้งานของแผ่นรับภาพรังสี
คำสำคัญ:
ดัชนีชี้วัดปริมาณรังสี,, แผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล,, อายุการใช้งาน,, การเสื่อมสภาพ, EIบทคัดย่อ
ค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสี (Exposure Index; El) เป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณรังสีที่แผ่นรับภาพ รังสีดิจิทัลได้รับรังสีเอกซ์ในการสร้างภาพ ซึ่งตามมาตรฐาน IEC 62494-1:2008 กล่าวว่าแผ่นรับภาพ ที่มีประสิทธิภาพดี จะต้องมีค่าความผิดพลาดของค่า E! ที่แสดงผลจากแผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล ไม่เกิน ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่า EI มาตรฐาน โดยค่า E! มาตรฐาน คำนวณจากค่าปริมาณรังสีในหน่วย ไมโครเกรย์ [UGY] คูณด้วย 100 เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพแผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล งานวิจัยนี้จึงได้ ทำการทดลองหาแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงค่าความผิดพลาดของ EI เมื่อแผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล ถูกใช้งานไปอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลค่า EI จากแผ่นรับภาพรังสี Konica Minolta AeroDR P-52 (AeroDR2 14175) ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุการใช้งานเริ่มตั้งแต่ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 6 ซึ่งการเก็บข้อมูลค่า E! นั้น ดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ของการสร้างรังสีเอกข์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน RQA5 ใน IEC 61267:2005 ผลการทดลองพบว่า ค่าความผิดพลาดของค่า EI ของแผ่นรับภาพที่ทำการทดสอบ มีการเปลี่ยนแปลงแบบเชิงเส้น โดยมี ค่าความผิดพลาดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.8 ต่อปี ซึ่งหากการเสื่อมสภาพของแผ่นรับภาพรังสีแผ่นนี้ ยังคงเปลี่ยนแปลงแบบเชิงเส้นเช่นนี้ต่อไป แผ่นรับภาพแผ่นนี้จะสามารถใช้ได้นานถึง 23 ปี อย่างไร ก็ตามต้องมีการทดลองเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเสื่อมสภาพของแผ่นรับภาพ จะเป็นแบบเชิงเส้นต่อไปได้นานเพียงใด
References
บรรจง เขื่อนแก้ว.การสร้างภาพรังสี ดิจิทัล.พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562
เพชรากร หาญพานิชย์. มารู้จักค่า El กันดี ไหม?[อินเทอร์เน็ต].18 ตุลาคม 2556. (เข้า ถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567); เข้าถึง ได้จาก: https://www.gotoknow.org/ posts/551192.
International Electrotechnical Com- mission. IEC 62494-1, Ed 1.0. Medical electrical equipment – Exposure index of digital X-ray imaging systemPart 1: Definitions and requirements for general radiography. Geneva, Switzerland. (2008).
Hyemin P., Yongsu Y., Jungmin K., Jungsu K., Hoiwoun J., Nobukazu T. Use of clinical ExposureIndex and Deviation Index Based on National Diagnostic Reference Level as Dose-Optimization Tools for General Radiography in KOREA. Radiation Protection Dosimetry (2020); 1-13
Zolochevsky A.A., Goncharova G.V., Borodenko Yu.A., Kozmin Yu.S. Simulation of the Scintillation Detector Degradation Process. Journal of National Technical University “Kharkov Polytechnic Institute” (2008) 9: 79-89.
International Electrotechnical Commission. IEC 61267, Ed 1.0. Medical diagnostic X-ray equipment – Radiation conditions for use in the determination of characteristics. Geneva, Switzerland. (1994).
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข.การควบคุมคุณภาพเครื่อง เอกชเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์.บริษัท บี ยอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2565
Seibert JA, Morin RL. The standardized exposure index for digital radiography: an opportunity for optimization of radiation dose to the pediatric population. Pediatr Radiol (2011) 41(5): 573-81.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข. มาตรฐานคุณภาพเครื่อง เอกชเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ (Quality standard of medical diagnostic X-ray machines). บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2562.
บรรจง เขื่อนแก้ว, กฤษณพันธ์ นิธิจินดา นนท์, ผู้ประดิษฐ์; มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ผู้ขอรับสิทธิบัตร. เครื่องมือจัดวางอุปกรณ์ สำหรับวิเคราะห์คุณภาพแผ่นรับภาพรังสี ดิจิทัลสิทธิบัตร. ประเทศไทย สิทธิบัตร ไทย 303000723. 4 มีนาคม 2566.
Atsushi T., Takahiko K., Shoichi S., Kazuo K., Masatoshi T., Hiroshi F. Development of quality control system for flat-panel detectors. Radiol Phys Technol (2011) 4:164-72
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง