ประสิทธิภาพของวิธี Quadruple test ในการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ ของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
คำสำคัญ:
การตรวจสารชีวเคมี 4 ชนิด, การคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์, โครโมโซมบทคัดย่อ
กลุ่มอาการดาวน์เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโชมคู่ที่ 21 เกินมา ทำให้เกิดภาวะความผิดปกติหลายระบบ ที่ผ่านมาใช้การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาความ ผิดปกติทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งหรือภาวะแทรกช้อนได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการกำหนด มาตรการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ด้วยวิธี Quadruple test ขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองทารก กลุ่มอาการดาวน์ด้วยวิธี Quadruple test กับวิธีการตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำในหญิงตั้งตั้งครรภ์ จำนวน 18,695 ราย ผลเป็นบวกจำนวน 1,908 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.21 ในกลุ่มที่ให้ผลบวกนี้ มีผลการตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำจำนวน 1,570 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.29 กลุ่มอาการดาวน์ (Trisomy 21) จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.29 Trisomy 18 จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.06 และความผิดปกติอื่นอีกจำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.23 และไม่พบผลการเจาะนำคร่ำ จำนวน 338 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.71 การตรวจ Quadruple test มีค่าความไว้ร้อยละ 94.7 (95% CI:94.41 - 95.06) ค่าความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 91.6 (95%Cl: 91.23-92.03) และ คุณค่าของการวินิจฉัยในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้ผลการคัดกรองเป็นลบ อยู่ในระดับที่ดี Negative Likelihood Ratio ที่ 0.06 (95%Cl: 0.01-0.02) และ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้ผลการคัดกรอง เป็นบวก อยู่ในระดับที่ดี Positive Likelihood Ratio ที่ 11.27 (95%CI: 10.83-11.84) จาก ค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีของวิธี Quadruple test ที่ยังคงเหมาะสมในการใช้ คัดกรองการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งตั้งครรภ์ทุกลุ่มอายุ
References
พิศพรรณ วีระยิงยง, จอมขวัญ โยธาสมุทร, ศรวณีย์ ทนุชิต, ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข, สุธีนุช ตั้งสถิตย์กุลชัย, ณัฐธิดา มาลาทอง และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินโครงการนำร่องการป้องกัน และควบคุมกลุ่มอาการดาวน์. โครงการ ประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2559.
คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก พ.ศ. 2556-2558, คณะอนุกรรมการมาตรฐาน วิชาชีพ พ.ศ. 2556-2558. ข้อแนะนำ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่ง ประเทศไทย เรื่องการตรวจคัดกรองทารก กลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ประเทศไทย; 2558 16 มกราคม 2558.
พีระยุทธ สานุกูล. การตรวจคัดกรอง ทารกกลุ่มอาการดาวน์โดยวิธี Quadruple Marker Test. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 สิงหาคม 2660- มกราคม 2561. 1-11.
สันทัด บุญเรือง. ความสัมพันธ์ระหว่างการ ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์และการเจาะน้ำคร่ำในการวินิจฉัยความผิดปกติของ ทารกในครรภ์แต่กำเนิดโรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชด่านซ้าย. วารสารอนามัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2560. 313-20.
Somsri S. Down syndrome screening outcomes in advanced maternal pregnant women at Roied hospital. Srinagarind Med J. 2021;35:513-21.
อัญชลี ระวังการ, วิลาวัลย์ บำรุงหมู่, วิภา สุวรรณชัยรบ, วีระยุทธ ประพันธ์พจน์. อุบัติการณ์ความผิดปกติของโครโมโชม ทารกจากน้ำคร่ำในหญิงไทยตั้งครรภ์. Thai journal of genetics เล่มที่ 8 มกราคม-เมษายน 2558. 46-56.
Chaipongpun N, Tongsong T, Wannapirak C, Sirichotiyakul S, Tongpraser F, Srisupundit K, et al. Performance of serum Quad test in screening for fetal Down syndrome in a large scale unselected population in a developing country. Int. J. Public Health. 2022; 68 (April 2023):1-8.
อรสิริ สิริวิพัธน์. ผลลัพธ์การตรวจคัดกรอง กลุ่มอาการดาวน์ด้วย Quadruple Test ในโรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน เมษายน-มิถุนายน 2566: 34-46.
Canick J. Prenatal Prenatal screening for trisomy 21: recent advances and guidelines. Clinical chemistry and laboratory medicine 2012; 50(6): 1003-8.
ธัญรดา เดชอัมพร. ผลการตรวจคัดกรอง ดาวน์ชินโดรมด้วยวิธี quadruple test ใน หญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2567: 108-16.
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบาย ด้านสุขภาพ (HITAP) [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567]; เข้าถึงได้ จาก:https://www.hitap. net/17315
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง