ปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน ของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน, นิสิตพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และปัจจัยทำนาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัย เวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 146 คน เก็บรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความมีวินัยในตนเอง การเอาใจใส่ในการเรียนของผู้ปกครอง คุณภาพการสอนของอาจารย์นิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.67, SD = 0.26 ; = 4.63, SD =0.51 ; X = 4.50, SD = 0.48) ตามลำดับ ส่วนด้าน ความรับผิดชอบ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ในการเรียน เจตคติต่อวิชาชีพ ความขยันหมั่นเพียร การจัดการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อม ในการเรียนภาคปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ ความรับผิดชอบ ด้านความมีวินัย ในตนเอง ความขยันหมั่นเพียร การจัดการเรียนการสอน คุณภาพการสอนของอาจารย์นิเทศ สภาพแวดล้อมในการเรียนภาคปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาคปฏิบัติ (r = -0.17 ถึง -0.24, p < .05) โดยตัวแปรด้านความมีวินัยในตนเอง สามารถร่วมทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 2 ได้ร้อยละ 5 (P< .05)
References
อัศนี วันชัย. การศึกษาไทย: แนวโน้ม การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล. วารสาร พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2560; 18(35): 106-17.
ปิยะพร บัวระพา, ปาริชาติ ชัยขันธ์, วิสุดา อินทรเพ็ชร, ขวัญพิชชา บุญอ่ำ. ปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาสาขาการบัญชี คณะวิทยาการ จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก: https:// ms.udru.ac.th/ACresearch/assets/ pdf/20211019093034.pdf
รุ่งฤดี กล้าหาญ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3): 412-20.
พระณัฐวุฒิ อคควฑฒโน. การวิเคราะห์ องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา. วารสารบวรสหการศึกษาและ มนุษย์สังคมศาสตร์. 2564; 2(2): 56-65.
จักรกฤษณ์ ผูกจิตรและ อรพรรณ อุดม พร. ปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนของ นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชน แห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร พยาบาลทหารบก. 2565; 23(1): 101-10.
กชพรใจอดทนและ อรณิชชชา ทศตา. ปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา. วารสาร วิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย. 2565; 27(2): 29-41.
สุภาวดี เนติเมธีและ ดวงเดือน ดวงสำราญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการ ผดุงครรภ์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน แห่งหนึ่ง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล อุดรธานี. 2564; 29(3): 324-32.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น; 2560.
ฐมาพร เชี่ยวชาญ และอภิฤดี พาผล. ความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานของ นักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2564; 15(1): 21-28.
จิราภรณ์ นันท์ชัย, นริศรา ใคร้ศรี, ลาวัลย์ สมบูรณ์, เทียมศร ทองสวัสดิ์, สุภาวดี เนติเมธี และดวงเดือน ดวงสำราญ. ปัจจัย ทำนายคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษา พยาบาล. พยาบาลสาร. 2560; 44(2): 49-59.
ชลชาติ สร้อยทอง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนปทุมคงคา [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก: https:// shorturl.asia/pOvCk
อลงกรณ์ อัศวโสวรรณ, กานต์รวี บุษยา นนท์, กิตติศักดิ์ ลักษณา, ภาสุดา ภาคาผล, สุรัตนา อดิพัฒน์, ยาชา มะหะมาน, รัตนวดี โชติกพนิช. การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่ง ผลต่อความขยันหมั่นเพียรในการเรียนของ นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสาร การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2566; 8(2): 79-95.
กาญจนา เลิศถาวรธรรม, กรรณิการ์ กิจนพ เกียรติ และอรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์. ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต. วารสาร การพยาบาลและการศึกษา. 2557; 7(4): 13-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง