การศึกษารูปแบบการจัดการมลภาวะอากาศกายในอาคารในพื้นพื้นที่เขตเมือง กรณีศึกษา อาคารศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และ หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ
คำสำคัญ:
มลพิษอากาศภายในอาคาร, การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ, ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย, หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลมลภาวะอากาศภายในอาคาร ความเสี่ยง ต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสมลภาวะอากาศภายในอาคาร 2) พัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดการ คุณภาพอากาศภายในอาคารที่เหมาะสม ในอาคารศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและหน่วยบริการสุขภาพ ปฐมภูมิ (ขนาดเล็ก) ในพื้นที่เขตเมือง จังหวัดลำปางและจังหวัดระยอง รวมจำนวน 20 แห่ง ผลการศึกษา การตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ การเคลื่อนที่ของอากาศ อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO.) ก๊าชคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซโอโซน (O.) ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (CH,O) สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เชื้อแบคทีเรียรวม และเชื้อ รารวม พบว่า อาคารทุกแห่งมีปริมาณ PM2.5 และ PM10 สูงเกินมาตรฐาน ส่วน CO ในอาคาร ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ สูงเกินมาตรฐาน 1 และ 2 แห่ง ตามลำดับ อาคาร เชื้อแบคทีเรียรวมสูงเกินมาตรฐาน 8 และ 4 แห่ง ตามลำดับ และเชื้อรารวมสูงเกินมาตรฐาน 4 และ 3 แห่ง ตามลำดับ ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพอากาศ โดยสร้างห้องปลอดฝุ่น ความดันบวกด้วยการคำนวณปริมาตรห้องและอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศเพื่อนำมาออกแบบ ขนาดเครื่องฟอกอากาศและเครื่องเติมอากาศที่เหมาะสมสำหรับแต่ละห้อง พบว่า ปริมาณ PMM2.5 และ PM10 รวมถึงพารามิเตอร์อื่นๆ ลดลงจนถึงระดับที่เป็นไปตามเกณฑ์ค่าเฝ้าระวังคุณภาพ อากาศภายในอาคาร กรมอนามัย ปี 2559" และมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร ของ สิงคโปร์" แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยการสร้างห้องปลอดฝุ่น ที่จำเพาะกับปัญหาและลักษณะของอาคารที่มีประสิทธิภาพ ผลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปสร้าง เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับอาคารศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิอื่นที่มีปัญหา คุณภาพอากาศ ให้สามารถจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดี ต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยภายในอาคารด้วย
References
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อการตรวจประเมิน คุณภาพอากาศภายในอาคาร สำหรับเจ้า หน้าที่. กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี. 95 หน้า. 2559.
Singapore Standard Council Code of practice for indoor air-quality for air conditioned buildings (SS 554:2016)[อินเตอร์เน็ต]. 2021. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565]; เข้าถึงได้ จาก: https:// www.enviresearch.co.th/wp-content/ uploads/2020/01/Indoor-Air-2016.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์และการ จัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ของประเทศไทย ปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565]; เข้าถึงได้ จาก: https//www.pcd.go.th/publica- tion/27805/
Strand V,Rak S,Svartengren M,Bylin G. Nitrogen dioxide exposure enhanc- es asthmatic reaction to inhaled allergen in subjects with asthma. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine. 1997; 155:881-7.
Chunram N, Vinitketkumnuen U, Deming RL, Chantara S. Indoor and outdoor levels of PM2.5 from se- lected residential and workplace buildings in Chiang Mai. Chiang Mai Journal of Science.2007; 34(2): 219-26.
Klinmalee A,Srimongkol K,Kim Oanh NT. Indoor air pollution levels in pub- lic buildings in Thailand and exposure assessment. Environmental Monitor- ing and Assessment. 2009; 159(1-4): 581-94.
Adamiec E and Jarosz-Krzeminska E. Human health risk assessment associated with contaminants in the finest fraction of sidewalk dust collected in proximity to trafficked roads. Scientific Reports. 2019; 9: 16364.
Olufemi AC, Mji A and Mukhola MS. Health risks of exposure to air pollutants among students in schools in the vicinities of coal mines. Energy Exploration and Exploitation. 2019; 37(6): 1638-11656.
U.S.EPA(United States-Environmen- tal Protection Agency). Exposure Factors Handbook: 2011 edition; National Center for Environmental Assessment [Internet]. Washington, DC; 2011 [Cites 20 January 2022]. Assessed from; http://www.epa.gov/ ncea/efh.
Hamastia A, Hermawati E, Marina R and Andrian R. Estimated analysis on environmental health risk of 2.5 microns particulate matter to urban communities in South Jakarta. Indian Journal of Public Health Research and Development. 2019; 10(2); 332-7.
เนตรชนก สมใจ, พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล, พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์ และสุคนธา ศิริ. คุณภาพอากาศด้านจุลินทรีย์ กายภาพ และสิ่งแวดล้อมภายในอาคารห้องสมุด มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 2562; 19(2): 68-84.
นูรฮูดา สุวรรณนุรักษ์, ลัดดาวัลย์ พะวร, พหล แสนสมชัย และอรอุมา จันทร์เสถียร. ปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศภายใน อาคารวิทยาลัยนครราชสีมา. การประชุม วิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี 2562, วันที่ 30 มีนาคม 2562, ณ วิทยาลัยนครราชสีมา จ.นครราชสีมา. 1059-64.
Miller MD, Marty MA, Arcus A, Brown J, Morry D, Sandy M. Differences between Children and Adults: implications for Risk Assessment at California EPA. International Journal of Toxicology. 2002; 21: 403-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง