การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการใช้แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยการขนส่ง นมแม่โครงการภาคีร่วมใจส่งรักส่งนมจากอกแม่สู่ลูกในเขตสุขภาพที่ 7 ร่วมกับกรมอนามัย

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา ขุนน้อย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ชาตรี เมธาธราธิป ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • อนงค์ลักษณ์ ศรีแสนปาง ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประเมินผลสัมฤทธิ์ , บริการการขนส่งนมแม่ , การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ การใช้แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยการขนส่งนมแม่ ในโครงการภาคีร่วมใจส่งรักส่งนมจากอกแม่สู่ลูกในเขตสุขภาพที่ 7 กรมอนามัย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยมารดาหลังคลอดผู้ใช้บริการขนส่งนมแม่แช่แข็งฟรี บุคลกรสุขภาพผู้ดูแลระบบ Line Official Account และเจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งนมเอกชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 47 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ช่วงศึกษา เดือนมกราคม ถึง เมษายน 2567 ระยะเวลา 4 เดือน ผลการวิจัยพบว่าการประเมินบริบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ไปทำงานต่างจังหวัด ส่งผลให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนต่ำกว่าเกณฑ์ จากการประเมินข้อมูลพบว่า มารดาที่ใช้บริการหลังคลอด มีความถี่ในการส่ง ตั้งแต่ 1 ถึง 28 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 97.14 ที่ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน การประเมินกระบวนการเน้นแผนประชาสัมพันธ์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จทางสังคม การประเมินผลิตภัณฑ์ปรากฏเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการและใช้บริการจัดส่งนมแม่แช่แข็ง จำนวน 268 ราย พบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่เป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 66.45 จะเห็นได้ว่าทารกได้กินนมแม่ที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 6 เดือน มากกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังพบว่าคุณแม่ที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดเงินค่านมสูตรได้ประมาณ 5,000-7,000 บาทต่อเดือน แนะนำให้ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง และจัดบริการขนส่งครอบคลุมพื้นที่โรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั่วประเทศ เพิ่มช่องทางการขนส่งให้แพร่หลายมากขึ้น เช่น บริษัทจัดส่งอาหารแช่แข็ง ไปรษณีย์ไทย ขยายเครือข่ายบริษัทรถโดยสารไม่จำกัดเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ อาจพิจารณาเส้นทางรถไฟและรถตู้โดยสารระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ

References

เสาวลักษณ์ ค้าของ, มยุรี นิรัตธราดร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2560;47(1):31–43.

กรมอนามัย. คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก [Internet]. 2562. Available from: https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/PP_Handbook.pdf

ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อน พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสาหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 และนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของไทย. 2562; ขอนแก่น.

Stufflebeam DL, Coryn CL. Evaluation theory, models, and applications. Vol. 50. John Wiley & Sons; 2014.

Sihite RM, Rifai A, Utami TN. ปัจจัยกำหนดของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกอายุ 0-6 เดือน ในเขตเมดาน ซุงกัล. Journal La Medihealtico. 2021;2(1):53–62.

Komalasari K, Ifayanti H, Agustriyani F. การสนับสนุนครอบครัวของมารดาและผลงานของมารดาต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกอายุ 7-12 เดือน. Jurnal Aisyah: Jurnal Ilmu Kesehatan. 2023;8(S1):291–6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024