การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนบ้านแก ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นิลุบล นันดิลก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เขมิกา สมบัติโยธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จารุวรรณ วิโรจน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, ภาคีเครือข่าย, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนบ้านแก ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้สูงอายุ จำนวน 61 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบการดูแลช่องปากผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 26 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสังเกต และแบบนิเทศติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายูโดยเครือข่ายชุมชนในครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบท วิเคราะห์สภาพปัญหา 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 5) นิเทศติดตาม 6) สรุป ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานและวางแผนในการแก้ไขปัญหา ผลการดำเนินงานหลังการพัฒนา พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้นและมีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ คือ ภาคีเครือข่าย กล่าวคือการได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนจะทำให้เกิดการดำเนินกระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในระยะยาวและเกิดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่จะเป็นแกนนำหลักในการดำเนินกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับทีมและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้อย่างใกล้ชิด

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ปี 65 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 2565 [เข้าถึงเมื่อ 11 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3ys0jd4.

พจมาน ศรีนวรัตน์. การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/2Jchhma

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์. ฐานข้อมูลด้านสุขภาพจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก 2566 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกก่อง. รายงานผลการสำรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 2566.

ณัฐวุฒิ พูลทอง, สมศักดิ์ อาภาศรีทองกุล, สุพัตรา วัฒนเสน. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนบ้านโนนสง่า ตำบลซาง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารทันตาภิบาล. 2559;27(2):53-67.

พรทิพย์ ศุกรเวทย์ศิริ. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36(1):149-58.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2556;16(2):9-18.

ขวัญจิตร ชมภูวิเศษ. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมสำหรับชมรมผู้สูงอายุ ตําบลเหล่าหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2560;18(2):36-46.

สิริรัตน์ วีระเดช, ละอองดาว วงศ์อำมาตย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. 2565;45(2):119-28.

สมตระกูล ราศิริ, ธิติรัตน์ ราศิริ, ยลฤดี ตณัฑสิทธิ์. แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข. วารสารทันตาภิบาล. 2561;29(2):123-35.

พิชญสุดา เชิดสกุล, นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, กู้เกียรติ ทุดปอ. การพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ในเขตตำบลจิกเทิง อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 2565;11(1):63-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024