สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของ หญิงวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย ปี 2566
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, หญิงวัยเจริญพันธุ์, การสำรวจ, ปัจจัยกำหนดสุขภาพบทคัดย่อ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นทักษะทางปัญญาและสังคมของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อตัดสินใจดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีต่อผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมของหญิงวัยเจริญพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทยวิธีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) โดยเลือกครัวเรือนด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบขั้นลำดับสามระดับ โดยมีกลุ่มตัวอย่างรวม 1,777 ราย ด้วยเครื่องมือแบบสำรวจ 17 ข้อคำถาม ปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ประกอบด้วยระดับการศึกษา อาชีพหลัก ความเพียงพอของรายได้ เขตที่อยู่อาศัย การอ่าน การเขียน สถานะสุขภาพ สิทธิการรักษาพยาบาล ความถี่ของการใช้อินเตอร์เน็ต และช่องทางการรับข้อมูลข่าวสาร ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 83.5. ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อายุช่วง 20-35 ปีขึ้นไป มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ระดับเพียงพอ สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การศึกษา ความเพียงพอของรายได้ ความสามารถในการอ่าน การเขียน สถานสุขภาพ สิทธิการรักษาพยาบาล ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P-value < 0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอดังนั้นในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ควรให้ความสำคัญกับความแตกต่างของกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการเสริมสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพของหน่วยงานต่างๆในการส่งเสริมการอ่านและการสืบค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้นอกจากหน่วยงานที่ดูแลการสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดทักษะการปฏิบัติที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์นั้นต้องออกแบบให้เจาะจงกับบริบทของกลุ่มเพื่อจะมีพฤติกรรมอนามัยเจริญพันธุ์ที่พึงประสงค์ต่อไป
References
.1.Sørensen K, Brand H. Health literacy lost in translations? Introducing the European Health Literacy Glossary. Health Promot Int [Internet]. 2014 Dec 1 [cited 2024 Jan 29];29(4):634–44. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23479322/
Sørensen K, Van Den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health [Internet]. 2012 [cited 2024 Jan 29];12(1). Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22276600/
วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม, วรัญญา สุขวงศ์, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, อัจฉรา ตันหนึ่ง, รุ่งนภา คำผาง, et al. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562. 2019.
Nubeam D,Muscat DM.Health Promotion Glossary.Health Promot Int.1998 Jan 1(cited 2024 Jan 29);36(6):1578-98
Stormacq C, Van Den Broucke S, Wosinski J. Does health literacy mediate the relationship between socioeconomic status and health disparities? Integrative review. Health Promot Int [Internet]. 2019 Oct 1 [cited 2024 Jan 29];34(5):E1–17. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30107564/
Van Der Heide I, Wang J, Droomers M, Spreeuwenberg P, Rademakers J, Uiters E. The relationship between health, education, and health literacy: results from the Dutch Adult Literacy and Life Skills Survey. J Health Commun [Internet]. 2013 Dec 4 [cited 2024 Jan 29];18 Suppl 1(Suppl 1):172–84. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24093354/
Ayers SL, Kronenfeld JJ. Chronic illness and health-seeking information on the Internet. http://dx.doi.org/101177/1363459307077547 [Internet]. 2007 Jul 1 [cited 2024 Jan 29];11(3):327–47. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/1363459307077547
Wu Y, Wang L, Cai Z, Bao L, Ai P, Ai Z. Prevalence and Risk Factors of Low Health Literacy: A Community-Based Study in Shanghai, China. Int J Environ Res Public Health [Internet]. 2017 Jun 12 [cited 2024 Jan 29];14(6). Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28604645/
Svendsen IW, Damgaard MB, Bak CK, Bøggild H, Torp-Pedersen C, Svendsen MT, et al. Employment Status and Health Literacy in Denmark: A Population-Based Study. Int J Public Health [Internet]. 2021 [cited 2024 Jan 29];66:598083. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34744563/
Ayotte BJ, Allaire JC, Bosworth H. The associations of patient demographic characteristics and health information recall: the mediating role of health literacy. Neuropsychol Dev Cogn B Aging Neuropsychol Cogn [Internet]. 2009 [cited 2024 Jan 29];16(4):419–32. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19424920/
Weaver JB, Mays D, Weaver SS, Hopkins GL, Eroglu D, Bernhardt JM. Health information-seeking behaviors, health indicators, and health risks. Am J Public Health [Internet]. 2010 Aug 1 [cited 2024 Jan 29];100(8):1520–5. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20558794/
Tang C, Wu X, Chen X, Pan B, Yang X. Examining income-related inequality in health literacy and health-information seeking among urban population in China. BMC Public Health [Internet]. 2019 Feb 21 [cited 2024 Jan 29];19(1). Available from:/pmc/articles/PMC6385413/
Andreassen HK, Bujnowska-Fedak MM, Chronaki CE, Dumitru RC, Pudule I, Santana S, et al. European citizens’ use of E-health services: a study of seven countries. BMC Public Health [Internet]. 2007 [cited 2024 Jan 29];7. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17425798/
Liu L, Qian X, Chen Z, He T. Health literacy and its effect on chronic disease prevention: evidence from China’s data. BMC Public Health [Internet]. 2020 May 14 [cited 2024 Jan 29];20(1). Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32410604/
Cotten SR, Gupta SS. Characteristics of online and offline health information seekers and factors that discriminate between them. Soc Sci Med [Internet]. 2004 Nov [cited 2024 Jan 29];59(9):1795–806. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15312915/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง