ปัจจัยทางการบริหารและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ในโรงพยาบาล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ฉุกเฉิน, สุนทรียทักษะภาวะผู้นำ, การปฏิบัติงาน , โรงพยาบาล, ปัจจัยทางการบริหารบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross – Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางการบริหารและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ในโรงพยาบาล จังหวัดขอนแก่น โดยประชากรที่ศึกษาคือเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า คัดออกทั้งหมด 122 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 90.98 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.50 และวิเคราะห์ค่าความเที่ยง (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาชของแบบสอบถามทั้งชุด เท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บข้อมูลวันที่ 15 – 31 มกราคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยทางการบริหาร ระดับสุนทรียทักษะผู้นำ และระดับการปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ในโรงพยาบาล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.11 (S.D.= 0.35), 4.12 (S.D.= 0.23), 4.11 (S.D.= 0.24) ตามลำดับ และพบว่า ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและภาพรวมสุนทรียทักษะผู้นำมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.637, p-value <0.001) และ (r=0.676 , p-value <0.001) ตามลำดับ และตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหาร ด้านเวลาในการปฏิบัติงาน สุนทรียทักษะผู้นำทักษะในการคิดริเริ่ม และสุนทรียทักษะผู้นำทักษะในการสอนงาน สามารถร่วมกัน ในการพยากรณ์และมีผลต่อการปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ในโรงพยาบาล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 42.2 (R2=0.422, p-value<0.001)
References
World Health Organization. Thailand ranks 2nd in the world for the highest road traffic accident fatalities. In-depth Health System Review [Internet]. 2014 Dec 28 [cited 2024 Apr 11]. Available from: www.hfocus.org/content/2014/04/6851
Policy and Strategy Bureau, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Ministry of Public Health Strategic Plan 2017-2021. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2017.
National Institute for Emergency Medicine. Annual Report 2023. Nonthaburi: National Institute for Emergency Medicine; 2023.
National Institute for Emergency Medicine. Annual Report 2014. Nonthaburi: National Institute for Emergency Medicine; 2014.
ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
Crosbie R. Learning the Soft Skills of Leadership. Industrial and Commercial Training. 2005;37(1):45-51.
Khon Kaen Provincial Public Health Office. Provincial Inspection Report, Khon Kaen Province, Fiscal Year 2022, Issue 5. Khon Kaen: Khon Kaen Provincial Public Health Office; 2019. (Copy document).
National Institute for Emergency Medicine. Emergency Medicine Practice Manual for Emergency Medicine Sets. 2nd ed. Bangkok: NP Press Limited Partnership; 2011.
Cohen J. Statistical power analysis for behavior science. 2nd ed. New York: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Phomdonko P, Bouphan P, Yotha N, Phimha S. Administrative Factors and Organization Climate Affecting the Performance of Health Personnel at the Emergency Department in Community Hospital. Indian Journal of Forensic Medicine & Toxicology. 2021;15(4):2121-2126.
ญาณิน หนองหารพิทักษ์, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2556;13(1):99-111.
มนตรี ยาสุด, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อกระบวนการจัดการความรู้ของบุคลากรศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2555;12(3):83-96.
กาญจนา พิทักษ์วาณิชย์, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2559;16(1):90-103.
ดุษฎี ศรีวิชา, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลชุมชนในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 12. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น. 2556;5(2):67-78.
ประภัสสร มิเถาวัลย์. ปัจจัยทางการบริหารและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2567;1:157-168.
มณีรัตน์ ช่างไม้, ชนะพล ศรีฤชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;11(4):65-72.
กรรณิการ์ เบ็ญจวนิช, ชัญญา อภิปาลกุล. สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;5(4):569-588.
กฤษณะ อุ่นทะโคตร, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562;12(2):7-18.
นิลุบล ดีพลกรัง, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. สุนทรียทักษะผู้นำในบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563;20(2):72-83.
สฤษณ์พลชัย บัวจันทร์, ชนะพล ศรีฤชา. สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2559;23(3):77-85
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง