คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงที่มารักษา ณ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-

ผู้แต่ง

  • ศรันยา ดวงเดือน ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สีหะพงษ์ เพชรรัตน์ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัชนิดา เบ้าบุญ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแล, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงเป็นบทบาทที่สำคัญของผู้ดูแลที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงที่มารักษาที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรคือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงที่มารักษาที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาดตัวอย่าง 100 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงที่มารักษาที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 94.05, S.D.= 9.82) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสุขภาพจิตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตที่ดี (x ̅ = 23.15, S.D.= 3.05) ด้านสุขภาพกาย (x ̅=25.11, S.D.=3.36) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (x ̅=10.70, S.D.=1.66) และด้านสิ่งแวดล้อม (x ̅=27.97, S.D.=3.69) อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นควรส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงในเรื่องสุขภาพกาย สัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้ดูแลดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

สีหะพงษ์ เพชรรัตน์, ภัทรพงษ์ มกรเวส, อุบลรัตน์ ต้อยมาเมืองและแก้วใจ เทพสุธรรมรัตน์. ผลของการรักษาด้วยยา Bosentan: กรณีศึกษาในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดที่มีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง ในศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563; 8(4): 437-50.

วรรณภรณ์ ศรีมณี, ยุพาพร ปรีชากุลและสีหะพงษ์ เพชรรัตน์. รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาซิลดีนาฟิลชนิดรับประทานในการรักษาภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562; 34(5): 448-52.

พัชริยา พยัคฆพงษ์. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบในเด็กร่วมกับมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด: กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566; 8(1): 520-28.

Wu, W., He, J. & Shao, X. Incidence and mortality trend of congenital heart disease at the global, regional, and national level. Medicine. 2020; 99(23): 1-8.

กฤติกา อินทรณรงค์, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่นและเนตรทอง นามพรม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังผ่าตัดหัวใจของผู้ดูแล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2566; 10(1): 182-95.

น้ำฝน แว้นแคว้น, อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์และวนิดา เสนะสุทธิพันธุ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลกับพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2563; 39(1): 26-39.

Kogon, B. E., Oster, M. E., Wallace, A., Chiswell, K., Hill, K. D., Cox, M. L., et al. Readmission Following Pediatric Cardiothoracic Surgery: An Analysis of the Society of Thoracic Surgeons Database. The Annals of Thoracic Surgery. 2019; 107(6): 1816-23.

ปภาวดี เหล่าพาณิชย์เจริญ. การพยาบาลเด็กที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขหัวใจพิการแต่กําเนิด. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(พิเศษ): 12-21.

หน่วยเวชสถิติ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดปี 2563-2565. ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2566.

อัณญ์ยภัคสร ใจสมคมและธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์. การพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดต่อเนื่องที่บ้าน ต่อปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน และความพึงพอใจของพยาบาลในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2564; 9(1): 310-24.

กาญจนา พรหมเรืองฤทธิ์, อุษณีย์ จินตะเวชและจุฑามาศ โชติบาง. การให้การดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. พยาบาลสาร. 2558; 42(พิเศษ): 35-45.

มัสลิน จันทร์ผา, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์และอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุผู้ป่วย การรับรู้ความรุนแรงของโรคของผู้ดูแล ความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2561; 36(1): 73-86.

หยาดพิรุณ เสาร์เป็ง, อุษณีย์ จินตะเวชและจุฑามาศ โชติบา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. พยาบาลสาร. 2562; 46(4): 13-24.

นันท์นภัส เลี้ยงพันธุ์, นฤมล ธีระรังสิกุลและศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. ปัจจัยทํานายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560; 29(2): 76-86.

วริศา จันทรังสีวรกุล และจิราจันทร์ คณฑา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระในการดูแล การสนับสนุนทางสังคมและความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564; 44(1): 88-101.

The WHOQOL GROUP. The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization. Social Sciences Medicine. 1995; 41(10): 1403-09.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024