การขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Organization) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดำเนินงานองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562 ผลการศึกษา จากการประเมินตนเองทุกองค์ประกอบขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ ผลลัพธ์การดำเนินงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 80.0 ขึ้นไป ผลการประเมินรายด้าน พบว่า 1) ด้านผู้นำองค์กรมีการกำหนดนโยบายเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพชัดเจน 2) ด้านบุคลากร ได้รับการพัฒนาด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพทั่งทั้งองค์กร สามารถกำกับ ติดตามเฝ้าระวังเพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของตนเองและกลุ่มเป้าหมายที่ตนเองรับผิดชอบได้ บุคลากรให้บริการข้อมูลสุขภาพสู่ประชาชน เน้นการเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บริการ เกิดความสะดวก รวดเร็ว และ3) ด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร มีการจัดทำป้ายสัญลักษณ์จุดให้บริการชัดเจน การจัดทำป้ายชื่อบุคลากรให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อการบริการส่งเสริมสุขภาพทั่วทั้งองค์กร สรุปผลจากการขับเคลื่อนงานองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีผลลัพธ์เป็นที่ประจักษ์ การนำองค์กรการวางแผนและพัฒนาบุคลากร และให้ความสำคัญกับข้อมูลและการสื่อสาร ที่มุ่งเน้นให้ผู้รับบริการเกิดการ เข้าถึงเข้าใจ และนำข้อมูลไปใช้ในการดูแลตนเองเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน ตามแนวทางขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน
References
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). นนทบุรี; 2559.
วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
(ด้านสาธารณสุข). [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/strategyMOPH2019.pdf
กรมอนามัย. การขับเคลื่อนองคกรรอบรูดานสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก https://psdg.anamai.moph.go.th/th/cms-of-82/191554
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เครื่องมือและแนวทางการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.hed.go.th/linkHed/index/314
กันยารัตน์ กุยสุวรรณ. แนวคิด หลักการ องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literate Organization. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/U6kBx
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และ นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ, กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์. กรุงเทพ; 2554.
วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม, วรัญญา สุขวงศ์, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, อัจฉรา ตันหนึ่ง, รุ่งนภา คำผาง, และรักมณี บุตรชน. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2562.
Brega AG, Hamer MK, Albright K, Brach C, Saliba D, Abbey D, et al. Organizational health literacy: quality improvement measures with expert consensus. HLRP: Health Literacy Research and Practice. 2019 ;3(2) :e127-e46.
สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน กรมอนามัย. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรมอนามัย นนทบุรี; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง