ความพึงพอใจต่อคุณภาพน้ำประปาของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจคุณภาพน้ำประปา, ประปาหมู่บ้าน, คลอรีนอิสระคงเหลือบทคัดย่อ
การผลิตน้ำประปาหมู่บ้านถึงแม้มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ แต่ก็พบปัญหาน้ำไม่ได้มาตรฐาน อาจจะเนื่องจากประสิทธิภาพของผู้ดำเนินระบบ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพน้ำประปา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือเจ้าหน้าที่ดูแล น้ำประปาทั้งหมดและประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้าน ใช้วิธีแบบเจาะจง 50 คน เก็บข้อมูลจาก แบบบันทึกกระบวนการผลิตน้ำประปา และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้น้ำประปา สถิติที่วิเคราะห์คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ผลการวิจัย พบว่าปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาปลายท่อ 50 หลังคาเรือน มีค่าน้อยกว่า 0.2 pprn ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72 อายุเฉลี่ยคือ 47.96 ปี (5.D.= 9.90) ความพึงพอใจในกลิ่นของน้ำประปา ระดับดีมากค่าเฉลี่ย 4.52 (5.D = 0.54) รองลงมามีความพึงพอใจระดับดี คือ ความใส ค่าเฉลี่ย 3.96 (5.D. = 0.75) ความพอเพียง ค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D. = 0.72) สีของน้ำ (ไม่มีสี) ค่าเฉลี่ย 3.60 (S.D. = 0.60) และความสะอาด ค่าเฉลีย 3.56 (S.D. = 0.73) พารามิเตอร์ที่ได้ความพึงพอใจ ในระดับปานกลาง คือ การไหลของน้ำประปา ค่าเฉลี่ย 3.04 (5.D. = 0.78) มีเจ้าหน้าที่ดูแลระบบบ ประปาทั้งหมด 3 คน อายุอยู่ในช่วง 50 - 55 ปี มีประสบการณ์ทำงานด้านการผลิตน้ำประปา อยู่ในช่วง 1 - 4 ปี ทั้งหมดไม่เคยผ่านการอบรมเรื่องระบบน้ำ และคุณภาพน้ำไม่เคยผ่านการตรวจ ประเมินคุณภาพของน้ำประปา
References
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม2566]; เข้าถึงได้จาก: HDC - Report (moph.go.th)
การประปานครหลวง. มาทำความรู้จัก "คลอรีน" กันเถอะ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/MWAthailand/posts/3069875053054565/.
สิทธิชัย ใจขาน, สุภาณี จันทร์ศิริ. แนวทางการพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตน้าประปาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):645-656
ปิยวดี ปลื้มฤดี, ผกามาศ ผจญแกล้ว. ระบบแจ้งเตือนแก๊สคลอรีนหมดสำหรับกระบวนการผลิตน้ำประปา. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี. 2564;1(2): 42-50.
ภาคภูมิ เกิดมงคล. การปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาของกิจการประปาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพันธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2561
การประปาส่วนภูมิภาค. กระบวนการผลิตน้ำประปาและควบคุมคุณภาพน้ำ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก:
https://reg4.pwa.co.th/km/sites/ default/files/km/upload/news1-281062.pdf.
มิตร นิรันดร์. น้ำบาดาลมีกลิ่นโคลน สนิม แก้ยังไง ทำอย่างไรให้ไม่มีกลิ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.mittwater.com/how-to-groundwater-smells.
สุพพัต เหมทานนท์, ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา. การศึกษาความเหมาะสมของคุณภาพน้ำประปาในการอุปโภคในพื้นที่ ตำบลละอาย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2560; 36(1): 98-111.
การประปาส่วนภูมิภาค. กระบวนการผลิตน้ำประปาและควบคุมคุณภาพน้ำ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565]; เข้าถึงได้จาก:
https://reg4.pwa.co.th/km/sites/default/files/km/upload/news1-281062.pdf
เนตรนภา พงเพ็ชร. การพัฒนาคุณภาพน้ำประปาโดยมีส่วนร่วมของชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลเสี้ยว จังหวัดเลย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 2563;12(2): 87-100
จารุณี วงสว่าง. การปรับตัวและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการรับรู้ในการเตรียมความพร้อมเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร.[วิทยานิพันธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. ชุมพร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2563
อัฏฐวัฒน์ เจริญรัตน์. ปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปา จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. 2560;8(3): 5-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง