ผลการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง ของกรมอนามัยในเขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, การพัฒนาศักยภาพบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ สภาพปัญหา ความสามารถและการปฏิบัติการดูแล ผู้สูงอายุของของผู้ดูแลผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 7 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรม หลักสูตร 70 ชั่วโมงของกรมอนามัย จำนวน 220 คน โดยใช้แบบสอบถามการประเมินความสามารถ และการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุของผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ของผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 41.4 (X= 12.78, S.D. = 1.7) ด้านสภาพปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นปัญหาของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 55.7 เช่น มีภาระงานมาก ขาดความรู้ มีปัญหาสุขภาพ ด้านความสามารถในการดูแล ผู้สูงอายุในระดับมากที่สุด ร้อยละ 81.4 (X= 13.2, S.D. = 1.0) ด้านระดับในการปฏิบัติการดูแล ผู้สูงอายุระดับมากที่สุด ร้อยละ 89.5 (X= 17.9 , S.D. = 0.9) ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นการเสริมสร้าง ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการพัฒนาความรู้ อย่างต่อเนื่อง จัดหลักสูตรทบทวนความรู้ สร้างระบบพี่เลี้ยงในการช่วยแก้ไขปัญหา และสร้างเสริม สุขภาพให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับ เคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคม ผู้สูงอายุ 64. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ ไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พรินติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2565.
กรมกิจการผู้สูงอายุ.ยุทธศาสตร์กรมกิจการ ผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา; 2561.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. คู่มือแนวทางการ อบรมฟื้นฟู Caregiver หลักสูตร 70 ชั่วโมง (Caregiver ฟื้นฟู 18 ชั่วโมง). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2563.
ปภาสินี แซ่ติ๋ว, ชไมพร จินต์คณาพันธ์, และศราวุธ เรืองสวัสดิ์. การศึกษาศักยภาพ ของผู้ดูแลผู้สูงอายุหลังจากอบรมหลักสูตร ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง ของวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี. วารสาร พยาบาลทหารบก. 2562; 20 (1): 300-310.
นัทธมน หรี่อินทร์.ผลการพัฒนาการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายใต้กระบวนการ Care Management อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วารสรสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2564; 3 (1): 55-69.
ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล. 2562. ประสิทธิผล โปรแกรมการพัฒนาทักษะผู้ดูแลในการ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่ง พิงเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุข ชุมชน. 2562; 2 (2): 25-37.
รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์ และณภัทรกฤต จันทวงศ์. การวิจัยประเมินผลโครงการระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิง ตำบลบ้านลำ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(6): 1075-1085.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง