การประเมินโครงการรณรงค์วัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็กอายุ 1-12 ปี เขตสุขภาพที่ 7 พ.ศ.2563-2564
คำสำคัญ:
วัคซีนป้องกันโรคหัด, การประเมินโครงการ, การวิจัยประเมินผลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์วัคซีนป้องกันโรคหัด ในเด็กอายุ 1-12 ปี พ.ศ.2563-2564 ของเขตสุขภาพที่ 7 ตามแผนเร่งรัดการกำจัดโรคหัดของ ประเทศไทยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก โดยใช้ CIPP Model ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลผลิต เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยบริการในโรงพยาบาลและโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 53 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานที่ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อผลประเมินบริบท มากที่สุด ( =3.29, S.D. 0.55) ซึ่งมีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย การดำเนินงาน ด้านวัคซีนในพื้นที่ และเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รองลงมาคือ ความพึงพอใจ ในภาพรวมต่อผลประเมินด้านผลลัพธ์ ( =3.11, S.D. 0.60) ด้านกระบวนการ ( =2.97, S.D. 0.58) และด้านปัจจัยนำเข้า ( =2.94, S.D. 0.60) ไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจาก ปัญหา บุคลากรที่ได้รับการอบรมและพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และการมี จำนวนบุคลากรเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งในส่วนนี้อาจส่งผลกระทบต่อภาระงานของบุคลากร ส่วนปัจจัยความสำเร็จเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ผู้บริหารและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรจะมีการสนับสนุนเพิ่มขึ้น เช่น จัดอบรมเพิ่มทักษะความรู้และสร้างความเข้าใจ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน และวางแผนการดำเนินงานและติดตามอย่างเป็นระบบ
References
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานและวัคซีนในนักเรียน พ.ศ.2556 นนทบุรี:สำนักโรคติดต่อทั่วไป; 2556.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แผนปฏิบัติงานกองโรคป้องกันด้วยวัคซีนปีงบประมาณ พ.ศ.2562. [เข้าถึง เมื่อ 6212 วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นสิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20181031112407.pdf
พัชนี สมพงษ์. การประเมินโครงการศึกษาอบรมหลักสูตรพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป การรักษาโรคเบื้องต้น) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.
ยุพิน รอดประพันธ์. การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) โรงเรียนวัดห้วยธารทหาร.2562 [เข้าถึง เมื่อ 5สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=166911&bcat_id=14.
กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน HDC เขตสุขภาพที่ 7. กลุ่มรายงานมาตรฐาน การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปีงบประมาณ 2563[เข้าถึง เมื่อ 5 สิงหาคม 2565].เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=4df360514655f79f13901ef1181ca1c7
เผด็จศักดิ์ ชอบธรรมและคณะ. การสำรวจความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานและวัคซีนในนักเรียน พ.ศ.2556.สำนักโรคติดต่อทั่วไป; 2556
กรรณิการ์ เบ็ญจวนิช, มยุรา ฮังกาสี. การประเมินความครอบคลุมในการได้รับวัคซีน ขั้นพื้นฐานของเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเตย ต.เว่ออ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://203.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php?ResID=92
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง