การถอดบทเรียนกระบวนการรูปแบบการดำเนินการนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมในสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข กรณีศึกษา Sandbox เชียงคาน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • วัชรี แก้วสา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเลย
  • นันทะกานต์ ขาวดา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเลย
  • จิตภินันท์ แสนหลวงอินทร์ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเลย
  • รัตติยา บุญเกียรติบุตร สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, การมีส่วนร่วม, นโยบายเศรษฐกิจสุขภาพ, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, เชียงคาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการถอดบทเรียนกระบวนการรูปแบบการดำเนินการ นโยบายเศรษฐกิจสุขภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมในสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข กรณีศึกษา Sandbox เชียงคาน จังหวัดเลย เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ประกอบด้วย 8 ประเด็นคำถาม สัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญระดับผู้บริหารที่มี ส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการ รวมทั้งหมด จำนวน 17 คน และแบบสนทนากลุ่มคัดเลือกจาก กลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเชียงคาน เฉพาะพื้นที่ดำเนินการ รวมทั้งหมด 29 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิจัยในลักษณะเชิงบรรยาย และรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยกระบวนการดำเนินการครั้งนี้สามารถเป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานที่สนใจ หรือเป็นแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในที่มีมาตรฐานการกำกับดูแลความปลอดภัย และยังเป็นการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อโรคโควิด - 19 หรือโรคระบาดอุบัติใหม่ อื่น ๆ ในอนาคตต่อไปได้

References

กองความมั่นคงระหว่างประเทศ. สถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศภายหลังการระบาดCOVID-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก http://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/Journal/article-00405.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. แผนรองรับนโยบายเปิดประเทศ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในสถานการณ์ COVID – 19. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8866

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำเนียบรัฐบาล. ศบค. เคาะปรับระดับโซนสีพื้นที่ใหม่พร้อมวางแนวทางจัดงานปีใหม่ปรับมาตรการเข้าประเทศ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49404

เขตสุขภาพที่ 8. กิจการท่องเที่ยววิถีเชียงคาน (Chiang Khan Lifestyle Quarantine). [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://r8way.moph.go.th/r8wayNewadmin/page/upload_file/20210823072337.pdf

นิคม สุวพงษ์. การถอดบทเรียน : เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ 2565; 7(1): 47.

วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, ศิวพร อึ้งวัฒนา และสุกิจ เตือนราษฎร์. ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในชุมชน. พยาบาลสาร 2563; 47(1): 197.

สมานชัย กิจวิจารณ์. การบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์. Journal of Roi Kaensarn Academi 2563; 5(1): 62.

ชนินทร์ เลิศคณาวนิชกุล. มาเขียน SOP ของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อการบริการที่มีคุณภาพกันเถอะ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 2553; 58(182): 21.

อุทัยวรรณ สุวรรณยั่งยืน. กลยุทธ์ในการสร้างความเข้าใจยุทธศาสตร์ของบุคลากรกรณีศึกษา:หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. PULINET Journal; 2561 21(5): 118.

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์, ประภาภรณ์ แสนภักดี, จุฑาทิพย์ พหลภาคย์ และ ฉัตรฉวี คงดี. การติดตามประเมินผลและการผลักดันการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ปี 2557. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ 2560; 4(1): 16.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 2563; 4(1): 176.

เดชา ทำดี, ธนารักษ์ สุวรรณประพิศ และวิลาวัณย์ เสนารัตน์. การถอดบทเรียนการจัดการความรู้และการสร้างองค์ความรู้การจัดการสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. พยาบาลสาร 2556; 40(4): 100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024