การประเมินผลของโปรแกรมการพัฒนาแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลัก 4 SMART บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
แกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, หลัก 4 SMART, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีรูปแบบการวิจัยแบบ Quasi-experimental research design ในลักษณะของ One-group pretest-posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้และทักษะการปฏิบัติของแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลัก 4 SMART ก่อนและหลัง เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลัก 4 SMART บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกลุ่มอาสาสมัครแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ในพื้นที่ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายใน กลุ่มเดียวกัน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้สถิติ Paired sample t-test ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 34 คน (ร้อยละ 85.0) อายุเฉลี่ย 43.26 ปี อายุต่ำสุด 21 ปี และอายุสูงสุด 59 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพ สมรส 21 คน (ร้อยละ 52.5) ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 22 คน (ร้อยละ55.0) และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร จำนวน 23 คน (ร้อยละ 57.5) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และคะแนนทักษะการปฏิบัติของอาสาสมัครแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุหลัง เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลัก 4 SMART บนฐานภูมิปัญญา ท้องถิ่น พบว่าคะแนนความรู้ของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเพิ่มจาก 15.78 ± 1.97 เป็น 17.00 ± 1.55 คะแนน ( p-value<0.001) เช่นเดียวกับคะแนนทักษะการปฏิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 17.45 ± 2.18 คะแนน เป็น 21.70 ± 1.47 คะแนน ( p-value<0.001)จะเห็นได้ว่า โปรแกรมการพัฒนาแกนนำส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลัก 4 SMART บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ช่วยเพิ่มทั้งความรู้และทักษะการปฏิบัติตน เป็นแนวทางในการปรับใช้สำหรับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก; http:// www.stopcorruption.moph.go.th/ index.php/main/p_detail/page/60.
นางกุลพรภัสร์ จิระประไพ และ นายธนนท์ นวมเพชร. สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัย และ อนาคต. ข่าวประชาสัมพันธ์. สำนักงาน สถิติแห่งชาติ. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก; http://www. nso.go.th/sites/2014/DocLib14/ News/2561/04-61/N10-04-61-1.pdf
กรมการปกครอง. แผนพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2563). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: http://www.oic. go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER12/ DRAWER093/GENERAL/DATA0000/ 00000559.PDF.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. หลัก 4 smart สำหรับผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2566] เข้าถึงได้ จาก; https://hpc2service.anamai. moph.go.th/ltcdata/files/14.pdf.
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี. สรุปรายงานประจำปี 2564. สุรินทร์ : สำนักงานสาธารณสุข อำเภอ พนดงรัก จังหวัดสุรินทร์; 2564.
Bloom BS. Hastings JT & Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw-Hill. 1971.
Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
นัยน์ปพร จันทรธิมา. ผลของโปรแกรมการ โค้ชต่อการเตรียมพร้อมและภาระของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2559.
ศิริสุข นาคะเสนีย์. พฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุใน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพ พรรณี 2561; 12(1); 39-48.
Acton GJ, Malathum P. Basic need status and health-promoting self-care behavior in adults. West J Nurs Res. 2000; 22(7): 796-811. doi: 10.1177/ 01939450022044764.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง