ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากกัญชงในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค
คำสำคัญ:
กัญชง, การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย, แบคทีเรียก่อโรคบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจาก ดอก ใบ และ ลำต้นของกัญชง ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคที่เรีย ได้แก่ Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Klebsiella sp., Acinetobacter spp. และ Vibrio cholerae โดยเก็บตัวอย่างกัญชง ได้แก่ ดอก ใบ และลำต้น นำมาสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 จากนั้นระเหยด้วยเครื่องกลั่นระเหยแบบหมุน แล้วนำสารสกัดหยาบที่ได้ทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์ โดยใช้วิธี Agar well diffusion จากนั้นนำไปหาความเข้มข้นของสารต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) และความเข้มข้นของสารต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MBC) โดยวิธี Broth Macro dilution ผลการศึกษาพบว่า เชื้อแบคที่เรียทั้ง 6 ชนิด มีการตอบสนองของสารสกัดหยาบของดอก ใบ และลำต้นของกัญชงที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสารสกัดหยาบของดอกกัญชง สามารถยับยั้งทั้งเชื้อแบคที่เรียแกรมบวกและแกรมลบได้ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ S. aureus รองลงมา คือ B. cereus, B. subtilis, Acinetobacter spp., V. cholerae และ Klebsiella sp.ตามลำดับ ทั้งนี้สารสกัดหยาบของดอกกัญชง มีค่า MIC ของแบคที่เรียแกรมบวกเท่ากับ 0.0244 มก/มล.และ ค่า MBC เท่ากับ 0.0244 มก./มล. และค่า MIC ของแบคทีเรียแกรมลบเท่ากับ 50 - 12.5 มก./มล.และ MBC เท่ากับ 50 มก/มล.ดั่งนั้นสารสกัดหยาบจากส่วนต่างๆ ของกัญชงมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้และกัญชงสามารถใช้เป็นสารสกัดทางเลือกจากธรรมชาติในการนำไปพัฒนาต่อเป็นยาปฏิชีวนะได้
References
ธมลวรรณ เนื่องกันทา. ศักยภาพการผลิตพืชกัญชงบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2555.
ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์. กัญชากับการรักษาโรค. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.
Tayyab M, Shahwar D. GCMS analysis of Cannabis sativa L. from four different areas of Pakistan. Egyptian J Forensic Sci. 2015; 5(3): 114–25.
Naveed M, Khan TA, Ali I, Hassan A, Ali H, Din ZU, et al. In vitro antibacterial activity of Cannabis sativa leaf extracts to some selective pathogenic bacterial strains. Int J Biosci. 2014; 4: 65–70.
Federica P, Vittoria B, Virginia B, Marco B, Stefania B, Lorenzo C. Cannabis sativa L. and Nonpsychoactive Cannabinoids: Their Chemistry and Role against Oxidative Stress, Inflammation, and Cancer. Biomed Pharmacother. 2018.
National Committee for Clinical Laboratory Standards. Reference Method for Broth Dilution Antifungal Susceptibility Testing of Yeasts; Approved Standard-Second Edition: proposed standard NCCLS document M38-A2 (ISBN 1-56238-469-4): Clinical and Laboratory Standards Institute. Wayne, Pennsylvania 19087, USA; 2008.
Martinenghi LD, Jønsson R, Lund T, Jenssen H. Isolation, purification,and antimicrobial Characterization of cannabidiolic acid and cannabidiol from Cannabis sativa L. Biomolecules. 2020; 10(6): 900.
กาญจนา ศรีประเสริฐ. การควบคุมเชื้อโรคในเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยการเคลือบด้วยสารอินทรีย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
Iseppi R, Brighenti V, Licata M, et al. Chemical characterization and evaluation of the antibacterial activity of essential oils from fibre-type Cannabis sativa L. (Hemp). Molecules. 2019; 24(12): 2302.
Schofs L, Mónica S, Sergio B. The antimicrobial effect behind Cannabis sativa. Pharmacology Res Perspect. 2021; 9(2).
Lone TA, Lone RA. Extraction of cannabinoids from Cannabis sativa L.plant and its potential antimicrobial activity. Univ J Med Dent. 2012; 1(4): 51-55.
วัชรินทร์ รังสีภาณุรัตน์, พัชรี กัมมารเจษฎากุล,อิสยา จันทร์วิทยานุชิต. ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2559; 38(19): 35-48.
Hemphill JK, Turner JC, Mahlberg PG.Cannabinoid content of individual plant organs from different geographicalstrains of Cannabis sativa L. J Nat Prod. 1980; 43(1): 112-22.
Farha MA, El-Halfawy OM, Gale RT, Macnair CR, Carfrae LA, Zhang X, et al.Uncovering the hidden antibiotic potential of cannabis. ACS Infect Dis. 2020; 6(3): 338-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง