ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต โดยครูดี เพื่อนซี้จอมพลังต่อภาวะโภชนาการในเด็ก วัยเรียน (6-12 ปี) บ้านเหล่าขวาว ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • มงคล สุขจิตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ศุภยางค์ เกิดสุข มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • สุพิชฌาย์ สายเย็น มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, เด็กวัยเรียน 6-12 ปี, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต โดยครูดี เพื่อนซี้จอมพลังต่อภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน (6-12 ปี) คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่อิสระต่อกัน ได้กลุ่มละ 27 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Cluster โดยกลุ่มทดลองได้รับความรู้ คำแนะนำและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการโดยครอบครัว เพื่อน และครู กลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดทัศนคติสำหรับเด็ก ผู้ปกครอง และแบบบันทึก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72, 0.81 และ0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วยสถิติ Independent-Samples T-Test ทดสอบการแจกแจงปกติโดยใช้ The Kolmogorov–Smirnov Test ได้ค่า การแจกแจงไม่ปกติ ใช้สถิติ Mann-Whitney U test

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีอัตราการคงอยู่ ร้อยละ 100 มีคุณลักษณะส่วนบุคคลคล้ายกัน คือ มีอายุเฉลี่ย 9 ปี ค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากผู้ปกครอง 30 - 60 บาทต่อวัน ส่วนใหญ่ผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ย 7,000 - 14,000 บาทต่อเดือน เด็กส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ภายหลังการทดลอง ส่งผลให้ทัศนคติของเด็ก และผู้ปกครองต่อภาวะทุพโภชนาการ ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001). คะแนนพฤติกรรมการบริโภค และกิจกรรมทางกายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=<.001 และ p=<.001 ตามลำดับ) สัดส่วนร่างกาย ได้แก่ น้ำหนัก เส้นรอบอก แขน และขาในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.040, p=0.015, p=<.001 และ p=<.001 ตามลำดับ) ดังนั้น การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนด้วยกิจกรรมที่เน้นทักษะชีวิตภายใต้ทุนทางสังคมร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ส่งผลให้ภาวะโภชนาการดีขึ้นจึงควรนำไปศึกษาในวงกว้าง 

References

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของเด็กอายุ 6 - 14 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [อ้างอิงเมื่อ 1 เมษายน 2566]. จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=46522b5bd1e06d24a5bd81917257a93c&id=e28682b2718e6cc82b8dbb3e00f2e28e

สำนักโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข. โรคในเด็กวัยเรียนที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [อ้างอิงเมื่อ 1 เมษายน 2566]. จาก : http://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2019/07-5037-20190708090109/a9aa5c370de2c187a8369aac77216ffd.pdf

ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. โภชนาการในเด็กวัยเรียน[อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ป.) [อ้างอิงเมื่อ 3 เมษายน 2566]. จาก:https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/sirirajonline2021/Article_files/1328_1.pdf

เฉลิมพร นามโยธา, กษมา วงษ์ประชุม, นิจฉรา ทูลธรรม, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการเพื่อลดความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2564; 41: 49-61.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนเมืองน้อย องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ. ผลการประเมินการเจริญเติบโต เด็ก 6-12 ปี ในพื้นที่ให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนเมืองน้อย. อำนาจเจริญ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนเมืองน้อย; 2566. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่)

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของเด็กอายุ 6 - 14 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 12 ปี 2556 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [อ้างอิงเมื่อ 3 เมษายน 2566]. จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=46522b5bd1e06d24a5bd81917257a93c&id=e28682b2718e6cc82b8dbb3e00f2e28e

ฐิติมา ชูใหม่. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. วารสารหัว หินสุขใจไกลกังวล 2559; 2: 18-33.

Europarl Europa. The social and economic consequences of malnutrition in ACP countries [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [อ้างอิงเมื่อ 1 เมษายน 2566]. จาก : https://www.europarl.europa.eu/meetdocs/2009_2014/documents/acp/dv/background_/background_en.pdf

ณัฐธวัลย์ เพ็งแจ่ม, ศุภรดา โมขุนทด, วันฉัตร โสฬส, วัลญา ขันพลกรัง, ดิเรก กลุ่มค้างพลู, ชลนิชา หอมสุวรรณ, ศันสนีย์ อินทะเสน, สัมฤทธิ์ หรั่งมา, พิชญานนท์ เผือกมะหิงษ์, บัณฑิตา ขุนภักนา และภารวี ตรีรัตนกุลพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจาปี พ.ศ.2562 2562; 6: 941-949.

มนัท สูงประสิทธิ์. อิทธิพลครอบครัว ที่ส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรง [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [อ้างอิงเมื่อ 4 เมษายน 2566]. จาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/อิทธิพลครอบครัว-ที่ส่งผ/

กระทรวงศึกษาธิการ. อิทธิพลของครูกับการเรียนรู้ของเด็ก[อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ป.) [อ้างอิงเมื่อ 5 เมษายน 2566]. จาก : https://www.moe.go.th/อิทธิพลของครูกับการเรี/

กนกวรรณ ตันตระเสนีย์รัตน์, เรวดี เพชรศิราสัณห์, นัยนา หนูนิล. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภค ความรู้ เจตคติ อิทธิพลของเพื่อนกับภาวะโภชนาการของวัยรุ่นในพื้นที่ชนบท จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2564; 2: 165-180.

อาจรีย์ แม่นปืน, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์,สุปรียา ตันสกุล, นิรัตน์ อิมามี. ผลของโปรแกรมฉลาดบริโภคเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุขศึกษา 2562;41: 126-137.

ทิพย์สุดา นกเส้ง, ศุภลักษณ์ สุวรรณะชฎ. แนวทางการพัฒนาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์การบริหารส่วนตาบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. วารสารการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ปี 2557. 2557; 1444-1453.

สกาวรัตน์ เทพรักษ์, ภภัสสร มุกดาเกษม, จรรยา สืบนุช, จารุณี จตุรพรเพิ่ม. การศึกษาปัจจัยด้านการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองและการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2560; 25: 21-42.

อรยา จันทรธิกานนท์, ณัฐชา วัฒนประภา. การศึกษาการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก. วารสารการประชุมวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 2562; 1922-1931.

เฉลิมพร นามโยธา, กษมา วงษ์ประชุม, นิจฉรา ทูลธรรม, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการเพื่อลดความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนใน เด็กวัยเรียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2565; 1: 49-61.

อรอนงค์ ชูแก้ว. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะอ้วน. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.

ติราพร ทองที, สุวัฒน์ ศรีสรฉัตร์, ทัศนีย์ รวิวรกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการบริโภคอาหาร ของเด็กเตี้ยอายุระหว่าง 10-12 ปี. วารสารสุขศึกษา 2561; 1: 138-153.

ณภัทร สุวรรณอำภา, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์ 2562; 1: 111-120.

มยุรี รัตนพฤกษ์, พรสุข หุ่นนิรันดร์. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้าหนักน้อยกว่าเกณฑ์ของนักเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา 2 จังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2564; 3: 58-81.

รพีพรรณ ไชยอุดม. 3 สิ่งต้องทำ ถ้าอยากให้ลูกตัวสูง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [อ้างอิงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566]. จาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/increase-height-children

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023