รูปแบบการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคต่อภาวะโภชนาการ ของผู้นำศาสนาเดือนรอมฏอนในจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
การถือศีลอด, ภาวะโภชนาการ, พฤติกรรมการบริโภคบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร พฤติกรรมการบริโภค และการเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการของผู้นำศาสนาช่วงเดือนรอมฏอน กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบวิธีเจาะจง และสมัครใจเข้าร่วม แผงลอยจำหน่ายอาหาร 75 ร้าน และกลุ่มผู้นำศาสนา 30 คน ใช้โดยใช้แบบประเมินแผงลอยจำหน่ายอาหาร แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคและประเมินองค์ประกอบของร่างกาย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติเชิงพรรณนา และ Paired sample t-test
ผลการศึกษา พบว่า การใช้รูปแบบการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร “CP-FATANI”ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำงาน, การจัดเตรียมพื้นที่จำหน่ายอาหาร, การอบรมผู้ประกอบการ, การตรวจแผงจำหน่ายอาหาร, การตรวจอาหาร, การจัดทำข้อตกลงกับผู้ประกอบการ,การประชาสัมพันธ์แก่ผู้รับบริการ และการใช้หลักศาสนา ทำให้แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านมาตรฐาน 96.00% และอาหารไม่ปนเปื้อนจากเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 88.33% ผู้นำศาสนามีพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับปานกลาง 70.00% และระดับดี 30.00% และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภาวะโภชนาการหลังและก่อนการถือศีลอด พบว่าน้ำหนัก (-1.66167) ดัชนีมวลกาย (-0.62667) เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (-0.890) มวลกล้ามเนื้อ (-0.55633) มวลกระดูก (-0.03667) ระดับไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (-0.76667) อัตราการเผาผลาญพลังงานพื้นฐาน (-17.300) และอัตราการเผาผลาญพลังงานเทียบเท่าอายุ (-1.400) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ส่วนสัดส่วนกล้ามเนื้อกับไขมัน (0.267) และเปอร์เซ็นต์รวมของน้ำในร่างกาย (0.01667) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
รูปแบบนี้ใช้หลักศาสนานำการพัฒนางานสาธารณสุข สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีบริบททางสังคมเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดูแลสุขภาพของตนเอง และชุมชน
References
Fernando HA, Zibellini J, Harris RA, Seimon RV, Sainsbury A. Effect of Ramadan Fasting on Weight and Body Composition in Healthy Non-Athlete Adults: A Systematic Review and Meta-Analysis. Nutrients. [Internet]. 2019 [cited 18 Jan 2023]; 11(2):478. Available from: https://doi.org/10.3390/nu11020478
Correia JM, Santos I, Pezarat-Correia P, Silva AM and Mendonca GV Effects of Ramadan and Non-ramadan Intermittent Fasting on Body Composition: A Systematic Review and Meta-Analysis. Front. Nutr.[Internet]. 2021. [cited 18 Jan 2023]; 7: 625240. Available from: doi: 10.3389/fnut. 2020. 625240
Sandoval C, Santibañez S, Villagrán F. Effectiveness of intermittent fasting to potentiate weight loss or muscle gains in humans younger than 60 years old: a systematicreview. Int J Food Sci Nutr. [Internet]. 2021 [cited 18 Jan 2023]; 72(6): 734-745. Available from: doi:10.1080/09637486.2020.1868412
สุธน เขียวขำ, สะหลัน สามะ สถานการณ์สุขาภิบาลอาหารของแผงลอยจำหน่ายอาหารเดือนรอมฎอน ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ17 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://hpc12.anamai.moph.go.th/th/academic-works/download?id=14000&mid=23808&mkey=m_document&lang=th&did=441
มุหัมมัดดาวูด อับดุลลอฮฺ. การถือศีลอด ประโยชน์ของการถือศีลอดในทัศนะทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/1976
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล และ ปัทมา สุพรรณกุล.วิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 6 อ., วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2566]; 5(2):302-312 เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/130912
จารุวรรณ ไผ่ตระกูล และ นะฤเนตร จุฬากาญจน. ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ชาวไทยมุสลิม. Pnu Sci J [อินเทอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2566]; 8(2): 142-5. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/56216
Abedelmalek S, Aloui K, Denguezli Bouzgarou M, Adam H, Souissi N and Chtourou H Exergaming During Ramadan Intermittent Fasting Improve Body Composition as Well as Physiological and Psychological Responses to Physical Exercise in Adolescents With Obesity. Front. Nutr. [Internet]. 2022 [cited 18 Jan 2023]; 9:851054. Available from: doi: 10.3389/fnut.2022.851054.
Ali, Z., Abizari, AR. Ramadan fasting alters food patterns, dietary diversity and body weight among Ghanaian adolescents. Nutr J [Internet]. 2018. [cited 18 Jan 2023]; 17,75 Available from: https://doi.org/10.1186 /s12937-018-0386-2
Al-Jafar R, Wahyuni NS, Belhaj K, Ersi MH, Boroghani Z, Alreshidi A, Alkhalaf Z, Elliott P, Tsilidis KK and Dehghan A, The impact of Ramadan intermittent fasting on anthropometric measurements and body composition: Evidence from LORANS study and a meta-analysis. Front. Nutr. [Internet]. 2023 [cited 18 Jan 2023]; 10: 1082217 Available from: https://doi.org/10.3389/fnut.2023.1082217
Osman F, Haldar S, Henry CJ. Effects of Time-Restricted Feeding during Ramadan on Dietary Intake, Body Composition and Metabolic Outcomes. Nutrients. [Internet]. 2020 [cited 18 Jan 2023]; 12:2478. Available from: https://doi.org/10.3390/nu12082478
ภัทรสิริ พจมานพงศ์ แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพโดยแบ่งตามลักษณะองค์ประกอบด้านร่างกายของผู้สูงอายุสมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานค รินทร, วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2566]; 20:73-87 เข้าถึงได้จาก:https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/article/download/198110 /162414/80631
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง