ผลของรูปแบบการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย, คลินิกผู้สูงอายุ, ความเสี่ยงต่อการหกล้มบทคัดย่อ
ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากสหปัจจัย ดังนั้น การวิจัยกึ่งทดลอง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเอง และความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิก ผู้สูงอายุโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม ได้ขนาดตัวอย่างกลุ่มละ 56 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T test และ Independent Sample T test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีคุณลักษณะทั่วไป ใกล้เคียงกัน เมื่อทำการเปรียบเทียบผลก่อน-หลังภาย ในกลุ่มทดลอง พบว่า ความรอบรู้ด้านการป้องกันการหกล้มเพิ่มขึ้น ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการหกล้ม ความเสี่ยงต่อการหกล้มจากสหปัจจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินระยะ 3 เมตร ความกลัวต่อการหกล้ม และความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ลดลงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อเปรียบเทียบผลหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า คะแนนความรอบรู้ด้านการป้องกันการหกล้ม และคะแนนพฤติกรรม เสี่ยงต่อการหกล้ม กลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความเสี่ยง ด้านสิ่งแวดล้อม และระยะเวลาที่ใช้ในการเดินไปกลับ 3 เมตร น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น การนำใช้รูปแบบการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้มทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563.
Gang, L., Sufang, J., & Ying, S. The incidence status on injury of the community dwelling elderly in Beijing. Chi J Prev Med 2006; 40(1): 37.
Wannian, L., Ying, L., Xueqing, W., & Chin J. An epidemiological study on injury of the community-dwelling elderly in Beijing. Dis Control Prev 2004; 8(6): 489-92.
Calvalcante, A.L.P., Aguiar, J.B., & Gurgel, L.A. Fatores associados a quedas em idosos em um bairro de Fortaleza, Ceará. Rev Bras Geriatr Gerontol 2012; 15(1): 137-46.
Wu, T.Y., Chie, W.C., Yang, R.S., & et al. Risk factors for single and recurrent falls: A prospective study of falls in community dwelling seniors without cognitive impairment. Prev Med 2013; 57: 511-7.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส), 2553.
วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
Centers for Disease Control and Prevention. Older adult fall. Retrieved 5 March 2019 from https://www.cdc.gov/homeandrecreationalsafety/falls/index.html, 2019.
Stenbacka, M., et al., Association between use of sedatives or hypnotics, alcohol consumption, or other risk factors and a single injurious fall or multiple injurious falls: a longitudinal general population study. Alcohol (Fayetteville, N.Y.) 2002; 28(1): 9-16.
Masud, T. and R.O. Morris. Epidemiology of falls. Age and Ageing 2001; 30(suppl 4): 3-7.
ลัดดา เถียมวงศ์. แนวทางการป้องกันการเกิดหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารพฤฒาวิทยา 2547; 5(2): 42-7.
Biderman, A., et al., Depression and falls among community dwelling elderly people: A search for common risk factors. Journal of Epidemiology and Community Health, 2002; 56(8): 631.
เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล, ยุพาพิน ศีรโพธิ์งาม, พรรณวดี พุธววัฒนะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลจากการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยา 2543; 1(3): 16-22.
Control, N.C.f.I.P.a. Preventing Falls: How to Develop Community-based Fall Prevention Programs for Older Adults. Atlanta, Georgia: The National Center for Injury Prevention and Control of the Cneters for Disease Control and Prevention, 2008.
ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, สุพัตรา สิมมาทัน, นิภาพร ฮามพิทักษ์, บุญทนากร พรมภักดี, ดุสิต อยู่คง. การประเมินความเสี่ยงและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารควบคุมโรค 2563; 46(3): 565-78.
McKay C Fau - Anderson, K.E. and K.E. Anderson. How to manage falls in community dwelling older adults: a review of the evidence. (1469-0756 (Electronic)), 2010.
ชิดชนก ศิริวิบุลยกิติ, กุลนาถ มากบุญ, จุฬาลักษณ์ คำเจริญ. ผลของการใช้โปรแกรมท่าศาลากับผู้สูงอายุในการเสริมสร้างสมรรถนะทางกายเพื่อลดความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563; 39(1): 127-37.
ทิพเนตร งามกาละ, ประคอง อินทรสมบัติ, สุปรีดา มั่นคง. การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและจัดการการหกล้มในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล. Rama Nurs J 2011; 17(1): 108-25.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และ กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(3): 186-95.
ธีรพันธ์ จันทร์เป็ง, รังสิยา นารินทร์, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. โปรแกรมส่่งเสริมครอบครัวเพื่่อการจััดการตนเองของผู้้สููงอายุุที่่เป็นโรคข้้อเข่่าเสื่อมต่่อการป้องกันการหกล้ม.วารสารสภาการพยาบาล 2564; 36(1): 34-51.
ธีรวีร์ วีรวรรณ. ผลของการออกกำาลังกายแบบผสมผสานต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2555; 42(2): 44-53.
ภาริส วงศ์แพทย์, วันทนียา วัชรีอุดมกาล. ผลจากการฝึกเดินบนสายพานเลื่อนพร้อมการพยุงน้ำหนักตัวกับการฟื้นความสามารถเดินและการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชน. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2559; 26(1): 19-23.
วิลาวรรณ สมตน, ทัศนีย์ รวิวรกุล, ขวัญใจ อานาจสัตย์ซื่อ. ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสาหรับผู้สูงอายุ. Journal of Public Health Nursing 2017; 27(3): 59-70.
ปริศนา รถสีดา. การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2561; 12(2): 15-25.
นงนุช ล่วงพ้น, ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์, พรลักษณ์ แพเพชร์ เสือโต, จารุวรรณ กิตติวราวุฒ. ความ สัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบสอบถาม แบบประเมิน Time up and Go ต่อค่าความสมดุลของการลงน้้าหนักรยางค์ล่างในผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน 2563; 26(1): 1-12.
Bloom, BS. Mastery learning. In J. H. Block (Ed.), Mastery learning: Theory and practice, 1971; 47–63.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวtหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: บริษัท ซีจี ทูล จำกัด, 2551.
Podsiadlo D, R.S., The timed ‘‘up & go’’: A test of basic functional mobility for frail elderly persons. J Am Geriatr Soc 1991; 39: 142-8.
BISCHOFF, H.A., et al., Identifying a cut-off point for normal mobility: a comparison of the timed ‘up and go’ test in community-dwelling and institutionalised elderly women. Age and Ageing 2003; 32(3): 315-20.
Tzu-Ting Huang and Gayle J. Action. Effectiveness of home visit falls prevention strategy for Taiwanese community-dwelling elders: randomized trial. Public health nursing 2004; 21(3): 247-56.
ธนพงษ์ เทศนิยม, นิภา มหารัชพงษ์, บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, ศศิธร สกุลกิม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2562; 44(4): 90-5.
ปรีดา สาราลักษณ์ และ วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2565; 15(2): 1-13.
วรารัตน์ทิพย์รัตน์, จรูญรัตน์ รอดเนียม, พีรวิชญ์ สุวรรณเวลา. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการมสี่วนร่วมของครอบครัวต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2565; 14(3): 72-91.
พีรนุตริ์ ศรชัยเลิศสกุล. ผลของโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ของผู้สูงอายุในชุมชน โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2566; 4(1): 98-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง