ผลการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวประเภท HFrEF (HF with reduced EF) ในคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • Weerachai Chatchadchawal โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
  • กนกฉัตร สมชัย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

ภาวะหัวใจล้มเหลว, ระบบบริการดูแลในคลินิก, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวประเภท HFrEF (HF with reduced EF) ในคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ศึกษาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มารับบริการในคลินิกหัวใจล้มเหลว ระหว่างเดือน มิถุนายน-ธันวาคม 2565 ได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 45 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการดูแลในคลินิก 5 ขั้นตอน 4 ระดับความรุนแรง เป็นระยะเวลา 6 เดือน เก็บรวบรวบข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรม ดูแลตนเอง คุณภาพชีวิตที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และแบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Sample T test และ Chi-squared test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.07 (S.D.=13.63) ส่วนใหญ่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยระหว่าง 6-10 ปี ร้อยละ 46.7 และเข้าสู่กระบวนการรักษาในคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 46.7 ภายหลัง การทดลองส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมในระดับดี มีคุณภาพชีวิตอยู่ใน ระดับสูง โดยเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) ส่วนผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ผู้ป่วยมีความทนในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น จากค่าดัชนี NYHA และการทดสอบการเดิน (6 minute walk test) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.004) และ (p-value<.001) ตามลำดับ ผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้ค่าการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (LVEF) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.013) ส่งผลให้อัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ในช่วง 1 ปี และอัตราการเข้ารักษาที่ห้องฉุกเฉิน ลดลงจากก่อนทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.001)

References

Braunwald E. The war against heart failure: Lancet. 2015; 385(9970): 812-24.

Lee AA, Aikens JE, Janevic MR, Rosland A-M, Piette JD. Functional support and burden among out-of-home supporters of heart failure patients with and without depression. Health Psychol. 2020; 39(1): 29-36.

McDonald K. Disease management of chronic heart failure in the elderly. Dis Manag Health Out 2007; 15: 333-9.

Heidenreich PA, Albert NM, Allen LA, Bluemke DA, Butler J, Fonarow GC, et al. Forecasting the impact of heart failure in the United States: a policy statement from the American Heart Association. Circ Heart Fail. 2013; 6(3): 606-19.

Laothavorn P, Hengrussamee K, Kanjanavanit R, Moleerergpoom W, Laorakpongse D, Pachirat O, et al. Thai acute decompensated heart failure registry (Thai ADHERE). CVD Prevention and Control. 2010; 5(3): 89-95.

Bosworth HB, Steinhauser KE, Orr M, Lindquist, J. H., Grambow, S. C., Oddone, E. Z. Congestive heart failure patients’ perceptions of quality of life: The integration of physical and psychosocial factors. Aging Ment Health 2004; 8: 83-91.

Sousa MM de, Oliveira JS, Soares MJGO, Araújo A de, Oliveira HS. Quality of life of patients with heart failure: integrative review. Journal of Nursing UFPE on line. 2017; 11(3): 1289-98.

Hwang SL, Liao WC, Huang TY. Predictors of quality of life in patients with heart failure. Japan Journal of Nursing Science. 2014; 11(4): 290-8.

Barbara R, Terri EW. Poor sleep and impaired self-care: Towards a comprehensive model linking sleep, cognitive, and heart failure outcomes. Eur J Cardiovasc Nurs 2009; 8(5): 337-44.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติ เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เอ-พลัส พริ้น, 2557.

European Society of Cardiology. 2016 ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure. Eur J Heart Fail 2016; 1-85.

Rerkluenrit J. Nurse’s roles in the multidisciplinary team to prevent prehospitalization of persons with heart failure: Using King’s goal attainment theory. Journal of Nursing and Health Care 2014; 32(4): 6-17.

Heart Failure Society of America, JoAnn Lindenfeld, Nancy M Albert, John P Boehmer, Sean P Collins, Justin A Ezekowitz, et al. Executive summary: HFSA 2010 Comprehensive heart failure practice guideline. J Card Fail 2010; 16(6): e1-194.

Jaarsma T, Stromberg A, Gal TB, Cameron J, Driscoll A, Duengen H, et al. Comparison of self-care behaviors of heart failure patients in 15 countries worldwide. Patient Education and Counseling 2013; 92: 114-20.

รังสฤษฏ์ กาญจนะวณิชย์, อรินทยา พรหมินธิกุล. (บรรณาธิการ). คู่มือการ ดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบ บูรณาการ. เชียงใหม่: โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561.

กระทรวงสาธารณสุข. Service plan สาขาโรคหัวใจ [online]. 2556. [cited 1 มิถุนายน 2564]; Available from: http://watphlenghospital.go.th/ httpdocs/DATA/Service%20Plan/ Service_Plan10.pdf.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบบาลอำนาจเจริญ. คลังข้อมูลผู้รับบริการคลินิกโรคหัวใจ ล้มเหลว. อำนาจเจริญ: โรงพยาบาล อำนาจเจริญ, 2564.

ไวยพร พรมวงค์, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ. การประเมิน ผลลัพธ์ระบบการบริการโดยทีมสหสาขา ในคลินิกหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลรามาธิบดี. Rama Nurs J 2019; 25(2): 166-180.

Rector TS, Kubo SH, Cohn JN. Patient’s self-assessment of their congestive heart failure: Content, reliability, validity of a new measure: The Minnesota living with heart failure questionnaire. Heart Failure 1987; 3: 198-219.

พวงผกา กรีทอง. โมเดลเชิงสาเหตุ ของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

ประชุมสุข โคตรพันธ์, อังศุมาลิน โคตรสมบัติ, สุพัตรา บัวที. การพัฒนาระบบ การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลยโสธร. วารสารการพยาบาลและ การดูแลสุขภาพ 2559; 34(1): 133-142.

ไวยพร พรมวงค์, จรูญศรี มีหนองหว้า, สุมิตรา วีระกุล, วิไลวรรณ ปลูกเจริญ. ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยภาวะหัวใจ ล้มเหลวในคลินิกหัวใจล้มเหลว.วชิรเวชสาร และวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2564; 65(5): 373-86

ธิดารัตน์ หนชัย, ปนัดดา อินทรลาวัณย์, กาญจนา สนิท, วนัชพร จอมกัน, ไพจิตรา พรหมวิชัย. เปรียบเทียบผลการลดระดับ ความรุนแรงของอาการ คุณภาพชีวิต และ การกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ในผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมการ ปฏิบัติตัวภาวะหัวใจล้มเหลวเปรียบเทียบ กับผู้ป่วยที่ได้รับการแนะนำตามปกติ. เชียงรายเวชสาร 2563; 12(1): 20-30.

อณัศยา ซื่อตรง, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาล โรคหัวใจและทรวงอก 2559; 27(2): 58-70.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, พิชสุดา เดชบุญ, กฤติเดช มิ่งไม้, ศศิมล โพธิ์ภักตร์, สานุรักษ์ โพธิ์หา, สุชานรี พานิชเจริญ. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังใน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสาร ราชพฤกษ์ 2560; 15(2): 16-26.

World Health Organization. (2016). Framework on Integrated, People Centered Health Service, Retrieve March 3, 2017 from http://apps.who. int/gb/ebwha/pdf_files/WHA69/ A69_39-en.pdf?ua=1

กมลรัตน์ ทองปลั่ง. การดูแลผู้ป่วยหัวใจ ล้มเหลวเรื้อรังแบบสหสาขาวิชาชีพในคลินิก หัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2561; 37(2): 108-118.

บุญส่ง นาคอ่อน, ศากุล ช่างไม้, สมพันธ หิญชีระนันทน์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยประยุกต์ ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสาร พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2559; 27(1): 13-29.

ชานนท์ มหารักษ์. อัตราตายและอัตรา การเข้ารักษาซํ้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจ ล้มเหลวในโรงพยาบาลพังงา. วารสาร วิชาการแพทย์เขต 11 2562; 33(2): 311-326.

ศุภวัลย์ เลิศพงศ์ภาคภูมิ, เจนเนตร พลเพชร, จอม สุวรรณโณ. ปัจจัยทำนาย การกลับเข้าพักรักษาซ้ำภายในช่วงเวลา 1 ปี หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลด้วยภาวะ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน. วารสารพยาบาล โรคหัวใจและทรวงอก 2562; 30(2): 126-140.

อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, โศภิษฐ์ สุวรรณ เกศาวงษ์, ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, หทัยรัตน์ บุญแก้ว. ประสิทธิผลของ โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารกองการ พยาบาล 2563; 47(3): 185-202.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023