ภาวะไอโอดีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ ที่ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
ไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะไอโอดีน, ยาเม็ดเสริมไอโอดีนบทคัดย่อ
กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย กำหนดชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการจ่าย “ยาเม็ดเสริมไอโอดีน” ตลอดการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ ที่ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ ที่ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไอโอดีนทั้งหมด 3,113 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกพหุคูณผลการศึกษา พบว่า ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ 126.80 µg/L ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์องค์การอนามัยโลกกำหนด (150 - 249 µg/L) ปัจจัยที่มีผลกับภาวะไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่น้อยกว่า 150 µg/L ได้แก่ ครรภ์หลัง (AOR = 1.19, 95% CI: 1.03 - 1.38) การไม่กินยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกวัน ร่วมกับไม่กินอาหารทะเลและเกลือเสริมไอโอดีนเป็นประจำ (AOR =1.17, 95%CI: 1.01 - 1.35) ไม่มีการกำหนดนโยบายจังหวัดไอโอดีนยั่งยืน (AOR = 1.06, 95% CI: 1.00 - 1.11)กินยาเม็ดเสริมไอโอดีนปริมาณมากกว่า 150 µg/วัน ลดโอกาสเสี่ยงขาดสารไอโอดีนลงร้อยละ 21 (AOR = 0.79, 95% CI: 0.68 - 0.91) ดังนั้น จึงควรนำข้อมูลดังกล่าวไปนำเสนอแก่จังหวัดในการขับเคลื่อนนโยบายการจังหวัดไอโอดีนอย่างยั่งยืน และให้ความรู้ สร้างความตระหนักแก่หญิงตั้งครรภ์ในการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อเนื่องทุกวันรวมถึงการกินอาหารทะเล และกินเกลือเสริมไอโอดีนเป็นประจำ
References
คณะกรรมการและคณทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย.ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 (Dietary Reference Intake For Thais 2020). กรุงเทพฯ: ห้างหุ่นส่วนจำกัดเอ.วี.โปรเกรสซีฟ; 2563.
Rodriguez-Diaz E, Pearce EN. Iodine status and supplementation before, during, and after pregnancy. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab. 2020;34(4):101430.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2563. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.
นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล, บรรณาธิการ. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย และ Unicef Thailand; 2562. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
Rohner F, Zimmermann M, Jooste P, Pandav C, Caldwell K, Raghavan R, Raiten DJ. Biomarkers of nutrition for development--iodine review. J Nutr. 2014;144(8):1322S-1342S.
Pino S, Fang SL, Braverman LE. Ammonium persulfate: a safe alternative oxidizing reagent for measuring urinary iodine. Clin Chem. 1996;42(2):239-43.
Ohashi T, Yamaki M, Pandav CS, Karmarkar MG, Irie M. Simple microplate method for determination of urinary iodine. Clin Chem. 2000;46(4):529-36.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน(พฤษภาคม 2561 - มิถุนายน 2563) [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 4 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/iodinedeficiency/download?id=76006&mid=35718&mkey=m_document&lang=th&did=24521
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์รายจังหวัดประจำปี 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 4 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/iodinedeficiency/download?id=93566&mid=35718&mkey=m_document&lang=th&did=24521
กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน>>อนามัยแม่และเด็ก>>จำนวนหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=e92321deb9e2bc3b24d453d6122b8827
Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998;17(14):1623-34.
Glinoer D. The regulation of thyroid function during normal pregnancy: importance of the iodine nutrition status. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab. 2004;18(2):133-52.
ศิริวรรณ แสงอินทร์, ช่อทิพย์ ผลกุศล. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก. ชลบุรี:งบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน); 2561.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง