ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ ชัยมงคล กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น 3309901524425

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 32 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมจากการประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของโซเลนเซ็น ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2566 กลุ่มทดลอง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ.60 ค่าความเที่ยง สัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) แบบสอบถามทั้ง ฉบับเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทีผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบเป็นเพศหญิงร้อยละ 87.50 และ 78.13 อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 53.13 และ 62.50 และมีระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 24.75 และ68.75 ตามลำดับ ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.05 และมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 บุคลากรสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ไปเป็นแนวทางในการสร้างเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอื่นๆ

References

De WD, Berkman N, Sheridan S, Lohr K, Pignone M. Literacy and health outcomes: a systematic review of the literature. J Gen Intern Med. 2004; 19(12): 1228-39.

Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, Thompson JA, Gazmararian JA and Huang J. Health Literacy and Mortality among Elderly Persons. ARCH INTERN MED. 2007; 167(114): 1503-1509.

Ishikawa H, & Yano E. Patient health literacy and participation in the health-care process. Health Expect. 2008; 11(2): 113-122.

วิมลรัตน์ บุญเสถียร และอรทัย เหรียญทิพยะสกุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: สถานการณ์ และผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของ ผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563; 2(1): 1-19.

วิมล โรมา และคณะ. การสำรวจความรอบรู้ ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562 (ระยะที่ 2). นนทบุรี: ฟันนี่ พับบลิชชิ่ง; 2563.

Sudore LR, Harris BT, Rosano C, Ayonayon NH. Limited literacy in older people and disparities in health and healthcare access. JAGS Journal compilation. 2006; 54(5): 770-6.

Nutbeam D. Defining and measuring Health literacy: what can we learn from literacy studies? In. 2009; 54(4): 303–5.

ND Berkman, DA Dewalt, MP Pignone, SL Sheridan, KN Lohr, L Lux, SF Sutton, T Swinson and AJ Bonito. Literacy and Health Outcomes: Summary. Evid Rep Technol Assess (Summ). 2004; (87): 1-8.

Sorensen K, Van den BS, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012; 12: 80.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางการแพทย์ และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. 2551.

อัจฉรา จิตรใจเย็น, ศศิธร รุจนเวชและ นงพิมล นิมิตอานันท์. ผลของโปรแกรม การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัด สมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 22(1): 321-30.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข. หมู่บ้านปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการ กระทรวง สาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.hed. go.th/linkHed

วีนัฐ ดวงแสนจันทร์, สิริลักษณ์ สุทธรัตนกุล และประมาณ กิริรัมย์. ผลของโปรแกรม ส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรม สร้างเสริมสุขภาพ และระดับน้ำตาลสะสม ในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาล 2565; 71(2): 28-37.

ศรีสุรางค์ เอียมสะอาด. ผลของโปรแกรม พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2564; 9(2): 155-66.

วิดา ลิ่มเริ่มสกุล,จงจิต เสน่หา, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้าน สุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้สูงอายุเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาล ศาสตร์แห่งประเทศไทย 2565; 40(1): 84-98.

ทองทิพย์ หงษ์สามสิบเจ็ด, สายฝน อินศรชื่น, วิยะดา เผือกหลวง, โชคชัย พนมขวัญ และรัตน์ชรีญาภรณ์ ฤทธิศาสตร์ ผลโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพการป้องกันไตเสื่อมของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงโรคไต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาจุฬาขอนแก่น 2565; 9(3): 220-30.

จันสุดา สืบพันธ์, เพลินพิศ บุณยมาลิก และพัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรม ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2564; 14(1): 109-24.

นิธิรัตน์ บุญตานนท์, ศินาท แขนอก และนารีรัตน์ สุรพัฒนชาติ. ประสิทธิผล ของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนก ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. วารสาร ศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม 2562;13(30): 1-14.

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง และกาญจนา สุขบัว. ผลของโปรแกรม การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพใน ผู้สูงอายุตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์ 2565; 7(2): 1669-76.

พวงผกา อุทาโพธิ์และ นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. ผลของโปรแกรมการ ส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ความรอบรู้ ด้านสุขภาพร่วมกับการเสริมสร้าง พลังอำนาจ และกิจกรรมทางสังคมใน การป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารสุขศึกษา 2565; 45(1): 71-89.

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกฏกาจร และ ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1): 200-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023