ประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • สุภัทร หลีกทุกข์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านหมี่ จ.ลพบุรี

คำสำคัญ:

บริหารพัสดุ, งานพัสดุ, งานพัสดุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดลพบุรี  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยความสมัครใจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ (Study Population) คือผู้ปฏิบัติงานพัสดุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี จำนวนทั้งสิ้น 132 คน  โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 121 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.66  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient)  ประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก( μ =4.26 , σ =0.58)  เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านความคุ้มค่ามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( μ =4.34 , σ =0.62) รองลงมา คือ ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก ( μ =4.29 , σ =0.62)  และด้านการตรวจสอบในอยู่ในระดับมาก (μ =4.26 , σ =0.67) ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ กับประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดลพบุรี พบว่า ความรู้ความเข้าใจด้านการจัดหาพัสดุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำ กับประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดลพบุรีภาพรวม (r= 0.18,p-value=0.03)

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ควรส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในด้านการจัดหาพัสดุเพิ่มเติม เพื่อให้ส่งผลถึงประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดลพบุรีให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และควรมีการจัดทำคู่มือการบริหารพัสดุโดยมีการอธิบายวิธีการดำเนินงานอย่างชัดเจน และเป็นระบบสามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมที่เหมาะสม ทำให้การบริหารงานพัสดุมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

References

ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ. การบริหารพัสดุ [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ค. 2565]; เข้าถึงได้จาก : http://www.parathikarn.police.go.th/web/kob29/langkarnpassadu.pdf.

สุวรรณ นิสดล. การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์อุบลราชธานี : วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; 2549.

เบญญาภา ยาโตปมา และพิพัฒน์ ไทยอารี. (2558). การบริการพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงาน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต 2558; 4 (3) : 1010-1017

ธีรยุทธ์ สำราญทรัพย์. การบริหารงานพัสดุขององค์กรส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า; 2551.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การวิจัยการวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :ศรีอนันต์การพิมพ์; 2543.

Cronbach, L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951; 16 (3), 297-334.

Elifson, K. W., Runyon, R. P., & Haber, A. Fundamentals of social statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill; 1990.

อริสรา สุดสระ. ปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ;2562.

ปราณี พูลพิทักษ์ธรรม. ประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

เฉลิมชัย อุทการ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านการบริหารงานพัสดุกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน บุคลากรทางด้านพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ 2559; 8(3) : 24 – 33.

สำนักงานราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร:สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ; 2560:13 – 54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023