พฤติกรรมสุขภาพและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ พื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 7

ผู้แต่ง

  • ชนิดาภา วงศ์รักษา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • รัตติกานต์ รักษาภักดี วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • บังอร กล่ำสุวรรณ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • สุวิชชา สังข์ทอง ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะโภชนาการ, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ในโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 18 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 952 คน สุ่มตัวอย่างโดยการจับสลากแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประเมินภาวะโภชนาการและพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การใช้เวลาว่างและการพักผ่อน มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha) 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่และร้อยละ

          ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับประทานอาหารมื้อหลักในสัดส่วนที่สูง ร้อยละ 97.9 รับประทานไข่มากที่สุด ร้อยละ 75.5 แต่ยังดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากที่สุด ร้อยละ 64.7 พฤติกรรมการออกกำลังกาย ร้อยละ 97.6 มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากที่สุด ร้อยละ 97.6 นักเรียนนอนน้อย ร้อยละ 56.2 ด้านภาวะโภชนาการ พบว่านักเรียนมีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 64.0ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 16.1 ภาวะผอม ร้อยละ 3.2

จากผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า นักเรียนยังมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งเสริมการเจริญเติบโตยังไม่ครอบคลุมและ 1 ใน 3 ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน มากกว่าครึ่งหนึ่ง มีพฤติกรรมเนือยนิ่งและนอนน้อย จึงควรสนับสนุนและผลักดันให้โรงเรียนทุกแห่งดำเนินงานตามแนวทางโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เน้นให้ความรู้ชนิดของอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนพักผ่อนให้เหมาะสมจัดอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ กำหนดมาตรการโรงเรียนปลอดน้ำหวานและขนมกรุบกรอบอย่างจริงจัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครูและผู้ปกครอง ร่วมสนับสนุนคน เงิน ของ เฝ้าระวังการเจริญเติบโต รวมทั้งพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียน

References

สำนักงานพัฒนาข้อมูลระบบข่าวสารสุขภาพ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 (สุขภาพเด็ก) [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559]; เข้าถึงได้จาก http://www.hiso.or.th/hiso5/report/report5.php

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. รายงานประจำปี 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561]; เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf

วิมล โรมาและคณะ. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559];เข้าถึงได้จาก https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/11454

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2558 [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561]; เข้าถึงได้จาก http://www.mdo.moph.go.th/computer/web51v2/filenewspay/290513033118.pdf

ชนัดดา เกิดแพร, ประทุม ยนต์เจริญล้ำ, นภาพร เหมาะเหม็ง และ รัตนาภรณ์ เหมือนจันทร์. พฤติกรรมที่พึงประสงค์นักเรียนชั้นประถมศึกษาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561]; เข้าถึงได้จาก: https://oec.anamai.moph.go.th/th/more-news-php-cid-204-filename-index/download?id=60084&mid=32938&mkey=m_document&lang=th&did=17855

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ปัญจภรณ์ยะเกษม และนุชจรีรัตน์ ชูทองรัตน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์. วารสารวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2557; 20: 30 - 43.

นภาพร เหมาะเหม็ง, สุจิตรา สีหะอำไพ และรัตนาภรณ์ เหมือนจันทร์. การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก[อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561]; เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/243963

บังอร กล่ำสุวรรณ์. การสำรวจภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2556;

อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์, จุฬาภรณ ตั้งภักดี, ศุภศักดิ์ วงษ์อินทร์จันทร์, สุรีพร เกียรติวงศ์ ครู และสุจิตรา คงกันกง. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อออนไลน์กับปัญหาสุขภาพองค์รวมของเด็กวัยเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2565; 42: 62–71.

สุภาภรณ์ ศรีสุพรรณ. การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลายพื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2563; 12: 1-9

จารุณี นุ่มพูล. โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2558; 8(2) :1-12.

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 [อินเทอร์เน็ต].ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/_4_NHES_4.pdf

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัย มหิดล.รายงานประจำ ปีงบประมาณ 2558. [อินเทอร์เน็ต].ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561].เข้าถึงได้จาก: https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/02/2015-IPSR-Annual-Report.pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติ และประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ขอนแก่น; 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2023