ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • Wuttikul Thanakanjanaphakdee วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ศุภศิลป์ ดีรักษา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

        การศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ประชากรคือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตสุขภาพที่ 7 ขนาดตัวอย่าง 546 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพสำหรับผู้ใหญ่ 30 คำ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก 14 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบระดับความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (rs) และ p-value         ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก เฉลี่ย 14.06+9.90 ส่วนใหญ่คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากระดับสูง ร้อยละ 44.14  ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ได้แก่ ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ (rs=-0.675, p-value<0.001) อายุ (rs =0.367, p-value<0.001), ระดับการศึกษา (rs=-0.447, p-value<0.001), เศรษฐานะทางครัวเรือน (rs=-0.215, p-value<0.001), พฤติกรรมการแปรงฟัน (rs=-0.258, p-value<0.001), ประวัติการเข้ารับบริการทันตกรรม 1 ปีที่ผ่านมา (rs=-0.227, p-value<0.001), ระยะเวลาเป็นโรคเบาหวาน (rs=0.258, p-value <0.001) และระดับน้ำตาลในเลือด (rs=0.093, p-value <0.030)         ทั้งนี้ ควรนำความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ พฤติกรรมการแปรงฟัน การเข้ารับบริการทางทันตกรรม และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มาพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ ต่อไป

References

Leite RS, Marlow NM, Fernandes JK, Hermayer K. Oral health and type 2 diabetes. Am J Med Sci. 2013 Apr;345(4):271-273.

Khalifa N, Rahman B, Gaintantzopoulou MD, Al-Amad S, Awad MM. Oral health status and oral health-related quality of life among patients with type 2 diabetes mellitus in the United Arab Emirates: a matched case-control study. Health Qual Life Outcomes. 2020 Jun 15;18(1):182.

Slade GD. Derivation and validation of a short-form oral health impact profile. Community Dent Oral Epidemiology. 1997;25:284–290.

Nammontri O. Validation of Thai version of the 14-item oral health impact profile (Thai OHIP-14) among the general Thai adults population in the community setting. J Health Res. 2017;31:481-6

Nutbeam D. Health literacy as a public health: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promot Int 2000;15:259-67.

Deeraksa S, Chaichit R, Muktabhant B, Udompanich S. Reliability and validity of the Thai version of rapid estimate of adult literacy in dentistry. J Int Oral Health 2019;11:132-6.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน เพื่อตอบสนอง Service plan ปีงบประมาณ 2564. [Internet].2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5

Hsieh YF, Bloch DA, & Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. [Comparative Study Research Support, U.S. Gov’t, Non-P. H.S. Research Support, U.S. Gov’t,P. H.S.] Stat Med.17(14):1623-34.1998.

กาญจนา หนูแก้ว, บงกช เหลือศรีสง่า, ศุภศิลป์ ดีรักษา, วิภาดา จิตรปรีดา, เลยนภา โคตรแสนเมือง, และรัฐติภรณ์ ลีทองดี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2563. 12(1): 77-93.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives, handbook I: The cognitive domain. New York: David McKay Co Inc.

ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ, ชบาไพร สุวรรณชัยรบ, ศุภศิลป์ ดีรักษา และรัชฎา ฉายจิต. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพกับการสูญเสียฟันของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2563. 23(1): 63-73.

Chaichit R. & Deeraksa S. The association between functional oral health literacy and periodontal disease among adults with type 2 diabetes mellitus in the northeast region of Thailand. Journal of International Oral Health, 2020, 12(5): 432.

เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์, จิราพร เขียวอยู่ และ วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน: กรณีศึกษาอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557. 29(4): 339-44.

Alotaibi AM., Al-Hazmi AH., ALruwaili BF., Alomail MA., Alshaman WH., & Alkhamis AM. Assessment of Oral Health-Ralated Quality of Life and Its Associated Factors among Young Adults of Saudi Arabia: A Multicenter Study. Hindawi BioMed Research International. 2022. Article ID 5945518, 8 pages.

Khongsirisombat N., Kiattavorncharoen S., Sinavarat P., Arayasantiparb R., Okuma N., & Thaakun S. Oral Health-related Quality of Life in Thai Older People with Metabolic Syndrome. J DENT ASSOC THAI. 2011.71(2): 135-48.

Batista MJ., Lawrence HP., & Rosario de Sousa ML. Oral health literacy and oral health outcome in an adult population in Brazil. BMC Public Health 2018. 18:60.

Shahpari M., Shekachizadeh H., & Sadat Mousavi M. Oral health-related quality of life and its association with oral health literacy and dental caries experience among a group of pregnant women: a cross-sectional study. Research Square 2022. DOI: https://doi.org/10.21203/rs.3.rs-1924110/v1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023