การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกัน ของบุคลากรโรงพยาบาลโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • วิศรุต เจริญพันธ์ โรงพยาบาลโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของการได้รับวัคซีนโควิด-19, การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, บุคลากรทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า (Prospective cohort study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันของบุคลากรโรงพยาบาลโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เข็มกระตุ้นที่ 3 ขึ้นไปและติดตามผล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีน รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลประวัติการฉีดวัคซีนของระบบเวชระเบียน จำนวน 89 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและ สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Spearman Rank (rs) และใช้สถิติ Linear Regression และเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันในระยะติดตามด้วยสถิติ Repeated One Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรที่ได้รับวัคซีนชนิด Viral Vector กระตุ้น เข็ม 3 หลังจาก 30 วัน จะมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่า วัคซีนชนิด mRNA กระตุ้น เข็ม 3 (P-Value = 0.005) การเปรียบเทียบระยะเวลาระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นที่สาม ผ่านไป 30 วัน พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด19 ผ่านไป 30 วัน สูงขึ้น โดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนฉีดเข็มกระตุ้น (x=22,284.93 Au/ML) และเมื่อผ่านไป 90 วันระดับภูมิคุ้มกันเข็มที่สามจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน (x=3,945.07 Au/ML) แต่ยังมีค่าที่สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับเข็มกระตุ้นที่สาม (x=370.56 Au/ML) และการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 4 และ 5 มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโควิด 19 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่สาม และการหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันพบว่าเพศ (rs = 0.292, p-value = 0.006) และอายุ (rs = 0.234, p-value = 0.027) มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนชนิด Inactivated vaccine ในระดับต่ำทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนชนิด Inactivated vaccine พบว่า เพศ (rs = 0.280, p-value = 0.008) และไตรกลีเซอไรด์ (rs = 0.262, p-value = 0.013) และชนิดวัคซีน (rs = 0.391, p-value < 0.001) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนชนิด Inactivated vaccine ระดับต่ำทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าดัชนีมวลกายปกติ (ORadj=0.350; 95%CI=0.12-0.99) และระดับ Cholesterol ปกติ (ORadj=0.174; 95%CI=0.03-0.90) และการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 5 (ORadj=0.158; 95%CI=0.02-0.88) มีโอกาสเกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 น้อยกว่ากลุ่มที่ผิดปกติและได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 ซึ่งการกระตุ้นเข็มที่ 5 จะทำให้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น สามารถป้องกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและลดการเสียชีวิต ดังนั้น ควรนำเสนอผลการศึกษาแก่บุคลากรและประชาชนเพื่อสร้างการรับรู้และทัศนคติที่ถูกต้องต่อการได้รับวัคซีน และส่งเสริมให้บุคลากรและกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างครอบคลุม

References

กองโรคติดต่อทั่วไป. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564.

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2565] เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

วิเชียร หมั่นแหล่, บุญยิ่ง ประทุม, สุรศักดิ์ แก้วอ่อน, กรกฏ จำเนียร. ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(11). 327–340.

ชลอวัฒน์ อินปา, พิศิศฐ์ ศรีประเสริฐ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงการแพร่ระบาดโรค COVID-19. เชียงรายวารสาร. 2564;13(2). 153-165.

แพรพรรณ ภูริบัญชา, อนุวัฒน์ ศรสมฤทธ์ และยุวลี ฉายวงศ์. ระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 หลังการฉีดวัคซีน ในบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข พื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และ 8. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(1). 179-190

คณะทำงานติดตามประสิทธิผลวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย เดือนกรกฎาคม 2564. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. กองระบาดวิทยา. กระทรวงสาธารณสุข. 2564;52(35). 509-11

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานความก้าวหน้าการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 จากการใช้จริงในพื้นที่ประเทศไทย 4 กลุ่มประชากร [อินเทอร์เน็ต]; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2565] เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/uploads/files/2103120211008071928.pdf

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด – 19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;3(1). 47-57.

โรงพยาบาลโนนสัง. ข้อมูลบุคลากร [เอกสารอัดสำเนา]. 2564

Lin DY, Gu Y, Wheeler B, Young H, Holloway S, Sunny SK, et al. Effectiveness of Covid-19Vaccinesover a 9-Month Period in North Carolina. The New England journal of medicine 2022;386(10). 933-941. DOI: 10.1056/NEJMoa2117128

ณสิกาญจน์ อังคเศกวินัย, จตุรงค์ เสวตานนท์, ศันสนีย์ เสนะวงษ์, สุวิมล นิยมในธรรม, กุลกัญญา โชคไพบูลย์. การวิจัยเบื้องต้นในการศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ในผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็ม [อินเทอร์เน็ต]. ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. [เข้าถึงเมื่อ] เข้าถึงได้จาก https://sicres.org/2021/09/13/covid19-vaccine-booster/

Qu P, Faraone J, Evans JP, Zou X, Zheng YM, Carlin C., et.al. Neutralization of the SARS-CoV-2 Omicron BA.4/5 and BA.2.12.1 Subvariants. New England journal medicine 2022; 386. 2526-2528. DOI: 10.1056/NEJMc2206725

Rosenberg ES, Dorabawila V, Easton D, Bauer UE, Kumar J, Hoen R, Hoefer D, Wu M, Lutterloh M, Conroy MB, Greene D, H, Zucker HA. Covid-19 Vaccine Effectiveness in New York State. The New England journal of medicine. 2022; 386.116-27.

Gayatri A, Bernal JL, Andrews NJ, Whitaker H, Gower C, Stowe J, et al. Serological responses and vaccine effectiveness for extended COVID-19 vaccine schedules in England. Nature Communications. 2021;12:7217, 1-19

Abu-Raddad LJ, Chemaitelly H, Butt AA. Effectiveness of the BNT162b2 Covid-19 vaccine against the B.1.1.7 and B.1.351 variants. The New England journal of medicine 2021;385(2). 187-189.

Scully EP, Haverfield J, Ursin RL, Tannenbaum C, Klein SL. Considering how biological sex impacts immune responses and COVID-19 outcomes. Nature Reviews Immunology. 2020;20:442–447

Menni C, May A, Polidori L, Louca P, Wolf J, Capdevila J, et al. COVID-19 vaccine waning and effectiveness and side-effects of boosters: a prospective community study from the ZOE COVID study. The Lancet infectious Diseases 2022;22 .

Lin Q, Zhao S, Gao D, Lou Y, Yang S, Musa S, et al. A conceptual model for the outbreak of coronavirus disease 2019 (covid-19) in Wuhan, China with individual reaction and governmental action. International Journal of Infectious Diseases. 2020; 93:211–216.

ภาสกร ศรีทิพย์สุโข, บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์, พิชญ ตันติยวรงค์, อารยา ศรัทธาพุทธ, พรรณศจี ดำรงเลิศ และ พีร์ จารุอำพรพรรณ. ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย:การศึกษาในสถานการณ์จริง. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านระบาดวิทยาประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2565.

นภชา สิงห์วีรธรรม, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, อรนุช ทองจันดี, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, อัจฉรา ค้ามะทิตย์และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. ความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. 2565.

อธิวัฒน์ กุลบุตร, ณัฐพล ลาวจันทร์, สุพล วังขุย และอนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. ความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 และการตัดสินใจรับวัคซีนของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาระยอง-พัทยาจังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2565;2(1).31-42

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-01-2023