การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพ (4D) สำหรับผู้ดูแลเด็ก เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • Thisophin Tongthai ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • สุพัตรา บุญเจียม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ปิยะ ปุริโส ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • Jariya Intraratsame ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • Nittaya Srimanon ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • Sarintip Charleekrua ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

หลักสูตรออนไลน์, สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย, มาตรฐานชาติ, 4D

บทคัดย่อ

วิจัยเพื่อพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพ (4D) 2) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรออนไลน์เพื่อสร้างความรู้ในการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพ โดยมีขั้นตอนการพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ ขั้นตอนที่ 2 การชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรออนไลน์ ขั้นตอนที่ 3 การถ่ายทอดสดเนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด จำนวน 1,540 คน คัดเลือกจากความสมัครใจ เก็บข้อมูลประเมินประสิทธิผลหลักสูตรด้วยแบบสอบถามออนไลน์ที่มีค่าความตรงตามเนื้อหา 0.97 ค่าความเชื่อมั่น 0.77 เพื่อประเมินความรู้ ความพึงพอใจ และการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติด้วยตนเองของผู้ผ่านอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า ผู้เข้าอบรมร้อยละ 67.5 มีคะแนนทดสอบความรู้ผ่านเกณฑ์ระดับปานกลางขึ้นไป มีระดับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อหลักสูตรระดับมาก (x ̅ = 4.50, S.D. = 0.58) สามารถนำความรู้ไปใช้ประเมินตนเองของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ จำนวน 829 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53.8 ผลวิจัยสะท้อนว่าหลักสูตรให้ความรู้แบบออนไลน์นี้สามารถพัฒนาความรู้และทักษะการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยตนเองตามมาตรฐานชาติด้านสุขภาพของผู้เรียนได้ตามเกณฑ์ จึงเป็นอีกรูปแบบทางเลือกของการให้ความรู้เพื่อการประเมินมาตรฐานบริการอื่นต่อไป

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด; 2562.

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานชาติ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://nccs.dcy.go.th/

งานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตสุขภาพที่ 7. รายงานข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด. 2562.

พิสิฐ น้อยวังคลัง. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิดด้านทัศนศิลปศึกษาเพื่อผู้เรียนวัยผู้ใหญ่. วารสารห้องสมุด. 2563; 64(1): 20-35.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. หลักสูตรและการเรียนรู้แบบดิจิทัล. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2562; 20(1): 200-211.

PDCA (Plan Do Check Act): Continually Improving, in a Methodical Way [Internet]. [cited 2021 August 22]. Available from: http://www.mindtools.com/pages/article/newPPM_89.htm

MCH Class | Facebook [Internet]. [cited 2021 August 23]. Available from: https://www.facebook.com/groups/175659697610997

Open Broadcaster Software | OBS [Internet]. [cited 2021 August 23]. Available from: https://obsproject.com/

Download LINE PC for Windows [Internet]. [cited 2021 August 23]. Available from: https://line-pc.com/download-line-pc-for-windows

Bloom BS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

กระทรวงศึกษาธิการ. แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2553.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564

จริยา ทองหอม, สิริวรรณ ศรีพหล, มารุต พัฒผล และปณิตา วรรณพิรุณ. การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University. 2560; 10 (2): 138-165.

ลภัสรดา จิตวารินทร์ และธวัชชัย จิตวารินทร์. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับเสริมสร้างความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานแคดดี้. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 2565; 9(1): 102-114.

พนิดา พุฒเขียว, พิมพ์พิมล นนท์เสนา และชเนตตี พิมพ์สวรรค์. การพัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีวิดีโอสตรีมมิ่งมีเดีย. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม้โจ้. 2560; 3(2), 41-53.

Richard Curtain. Online delivery in the vocational education and training sector: Improving cost effectiveness [Internet]. National Centre for Vocational Education Research; 2002 [cited 2021 August 24]. Available from: https://fi.uy/v046

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข และอนิรุทธิ์ สติมั่น. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ด้วยการเรียนแบบทักษะปฏิบัติร่วมกับเครื่องมือทางปัญญาผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์. 2562; 47(1): 84-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-01-2023