ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนที่มารับบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ณ จุดบริการโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สงกรานต์ กลั่นด้วง กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โควิด-19, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนที่มารับบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ณ จุดบริการโรงพยาบาลขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มารับบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ณ จุดบริการโรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2564 คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 310 คน สุ่มเลือกอย่างง่าย คัดเลือกตามคุณสมบัติ คือ กลุ่มผู้มารับบริการวัคซีน ณ จุดบริการโรงพยาบาลขอนแก่น สามารถอ่านออกเขียนได้ สมัครใจที่จะให้ข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 37.10 เพศหญิงร้อยละ 62.90 ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 20 – 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 62.9 รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 40 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.10 ระดับการศึกษาส่วนมาก อยู่ในระดับ ปริญญาตรี/ปวส. ร้อยละ 59.68 รองลงมาเป็น ระดับ มัธยมศึกษา/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 33.23
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานในการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 99.68 และมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.68 (SD= 0.92) คือความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับดีมาก ซึ่งเป็นความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานในการป้องกันโรคโควิด-19 ในระดับเป้าหมาย และพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 89.35 และค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.43 (sd= 2.28) คือ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในระดับดีมาก เป็นพฤติกรรมในระดับเป้าหมาย(ดีถึงดีมาก) ถึงแม้จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีแต่ประชาชนยังคุ้นเคยกับวิถีชีวิตเติมทุกเพศทุกวัยต้องการไปร่วมงานสังสรรค์หรือมีกิจกรรมรวมกลุ่ม ดังนั้น จึงควรมีการให้คำแนะนำการป้องกันตนเอง การให้ข้อมูลข่าวสารการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญส่งเสริมสนับสนุนการให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้รวดเร็วและมากที่สุด

References

1.ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2563. https://ddc.moph.go.th/
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.2564.รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no604-290864.pdf) เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9 พ.ย. 2564.
3.กองสุขศึกษา, 2563. การดําเนินงานพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2563. file:///C:/Users/Win10x64Bit/Downloads/170220210740139231_linkhed%20(11).pdf เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9 พ.ย. 2564.
4.ธานินทร์ ศิลป์จารุ.2551. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.หน้า 46)
5. กองสุขศึกษา.2563. เครื่องมือเฝ้าระวังสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน (HL) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (HB) ในการป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มประชาชนทั้ง 12 เขตสุขภาพ. https://drive.google.com/file/d/13xailnOMvbE0pXnMhALUXoMvAmWISCDy/view
6. พิทยา ไพบูลย์ศิริ, 2561. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 97 ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม- เมษายน 2561.
7. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2563. รายงานผลการเฝ้าระวังสถานการณ์ ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชน ครั้งที่ 3. การดําเนินงานพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2563 file:///C:/Users/Win10x64Bit/Downloads/170220210740139231_linkhed%20(10).pdf เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9 พ.ย. 2564.
8. พรศรี สิงคะปะและวงศกร ราชปันติ๊บ. 2564. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคอีสาน ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน ตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564.
9. ณัฎฐวรรณ คำแสน .2564. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564.
10.ฮูดา แวหะยี. 2563. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเต็งนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่
6 ฉบับที่ 4 ตุลาคม –ธันวาคม 2563
11.ภัคณัฐ วีรขจร , โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ์ และ นภชา สิงห์วีรธรรม, 2563. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2563.
12. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2563. การเฝ้าระวังสถานการณ์ “พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. แนววิถีชีวิตใหม่ (New normal)” ของประชาชน. https://drive.google.com/file/d/1zoGdFpdYT4vqUMnsy1jgXAewlyrhIxp6/view
13. ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. 2564. การศึกษาพฤติกรรมของประชากรโลกในช่วงเผชิญภาวะวิกฤติ
COVID-19 . วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน พ.ศ.2563.
14. ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. 2563. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา ปีที่ 21 ฉบับที่2 พฤษภาคม –สิงหาคม 2563.
15. พรศรี สิงคะปะและวงศกร ราชปันติ๊บ . 2563. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคอีสาน ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน ตุลาคม 2563 - มีนาคม 2564.
16. จุฑาวรรณ ใจแสน. 2563. พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat16/6114060102.pdf เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9 พ.ย. 2564.
17. Cho, Young Ik & Lee, Shoou-Yih D. & Arozullah, Ahsan M. & Crittenden, Kathleen S., 2008. "Effects of health literacy on health status and health service utilization amongst the elderly," Social Science & Medicine, Elsevier, vol. 66(8), pages 1809-1816, April.
18. Gladdar, Valerio, Carsia, & Hansen, 2012. Adolescent Health Literacy: The Importance of Credible Sources for Online Health Information.
https://doi.org/10.1111/j.1746-1561.2011.00664. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9 พ.ย. 2564.
19.WHO . Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion. Kenya: Nairobi; 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-03-2022