ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน พื้นที่เขตสุขภาพที่ 8
คำสำคัญ:
คำสำคัญ เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนตามมาตรฐาน, เขตสุขภาพที่ 8, Regional Health 8, Standard iodized saltบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐานในครัวเรือนพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้จากการสุ่มครัวเรือนที่อยู่ในเขตสุขภาพที่ 8 แบบ Cluster sampling จำนวน 5,073 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-Square และสถิติ Multiple-Logistic regression นำเสนอด้วยค่า p – value ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ค่า Odds Ratio และ 95% CI ผลการศึกษาพบ ครัวเรือนในเขตสุขภาพที่ 8 มีความชุกของการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน (20-40 PPM) ร้อยละ 64.91 (3,293 ครัวเรือน) ความชุกของการบริโภคเกลือที่ไม่มีไอโอดีนร้อยละ 14.86 (754 ครัวเรือน) และความชุกของการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 20.23 (1,026 ครัวเรือน) โดยแบ่งเป็นการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่มีความเข้มข้นของสารไอโอดีนเกินค่ามาตรฐาน(มากกว่า 40 PPM) ร้อยละ 12.80 (649 ครัวเรือน) และบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่มีความเข้มข้นของสารไอโอดีนต่ำกว่าค่ามาตรฐาน (น้อยกว่า 20 PPM) ร้อยละ 7.43 (377 ครัวเรือน) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน โดยควบคุมอิทธิพลของตัวแปร พบว่ารายได้ต่อเดือน 15,001 - 20,000 บาท ความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนในระดับปานกลาง และระดับมาก ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการบริโภคสารไอโอดีนอยู่ในระดับมาก ความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสารไอโอดีนในระดับปานกลาง และระดับมาก ความรู้เกี่ยวกับการเก็บเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่ถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง และระดับมาก ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐานในระดับปานกลาง และระดับมาก พฤติกรรมการบริโภคสารไอโอดีนเป็นประจำ และบริโภคเป็นบางครั้ง รวมถึงพฤติกรรมการเก็บเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่ถูกต้องเป็นประจำ และเป็นบางครั้ง เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน (p<0.05) ผลการศึกษานี้สามารถใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการวางแผนการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง