ความแม่นยำของการตรวจคัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 กิโลกรัมต่อเดือน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความแม่นยำ ของการตรวจคัดกรองเบาหวาน ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงต่ำที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 กิโลกรัมต่อเดือน เป็นการศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง (Retrospective cohort study) ประชากรที่ทำการศึกษา คือสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำของการเป็นเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ และได้มารับบริการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์และคลอดบุตรที่โรงพยาบาลปากช่องนานา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2562 จำนวน 302 คน โดยรวบรวมข้อมูลจากแผนกเวชระเบียน โรงพยาบาลปากช่องนานา
ผลการวิจัยพบว่า ผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้น (50g GST) ทั้งหมด 302 คน ให้ผลบวกทั้งสิ้น 58 คน คิดเป็น 19.2 % และในจำนวนนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นจำนวน 2 คน คิดเป็น 0.7 เปอร์เซ็นต์ จากผลการคำนวณทางสถิติพบว่า ค่า sensitivity เท่ากับ 0.7 %, specificity เท่ากับ 99.3%, positive predictive value เท่ากับ 19.2 % และ negative predictive value เท่ากับ 80.8% ประเมินความแม่นยำโดยดูค่า Area under the curve (AROC) เท่ากับ 0.093 และลักษณะเส้นของกราฟเบ้ซ้ายค่อนข้างมาก จึงแปลผลได้ว่า การตรวจคัดกรองเบาหวานโดยใช้เกณฑ์นี้ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง
สรุป มาตรการการตรวจคัดกรองเบาหวานในขณะตั้งครรภ์โดยใช้เกณฑ์น้ำหนักขึ้นมากกว่า 3 กิโลกรัม ใน 1 เดือน ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ไม่สามารถตรวจคัดกรองได้จริง และยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายและ ทรัพยากร โดยไม่จำเป็นอีกด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง