ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนโรงเรียนพ่อแม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
บทคัดย่อ
โรงเรียนพ่อแม่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์การสอนแบบเดิมเป็นแบบรายกลุ่มที่แผนกฝากครรภ์ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการสอนโรงเรียนพ่อแม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์แรก ที่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ จำนวน 100 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 50 ราย ได้รับโปรแกรมการสอนรายกลุ่มตามปกติ และกลุ่มทดลอง 50 ราย ได้รับโปรแกรมการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองก่อนและหลังการทดลองเรื่องความรู้,ความเครียดในระยะตั้งครรภ์และผลลัพธ์ด้านสุขภาพได้แก่ระดับความเข้มข้นของเลือด,พฤติกรรมการแปรงฟันและภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่,ค่าร้อยละ,ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน,Independent t-test, Pair t-test, Mann-Whitney Testพบว่าหลังการทดลองทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นและมีความเครียดลดลงกว่าก่อนการทดลอง(p<0.001), คะแนนความรู้และความเครียดในระยะตั้งครรภ์ภายหลังการทดลองของทั้ง2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน (p=0.385และ0.191) ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทั้ง2กลุ่มมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดลงกว่าก่อนการทดลอง, มีพฤติกรรมแปรงฟันถูกต้องร้อยละ88และร้อยละ92 และมีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ76 และ72 สรุปผลและข้อเสนอแนะ: การใช้วิธีการสอนโรงเรียนพ่อแม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สามารถส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้นมีความเครียดลดลงได้เท่ากับการเรียนในห้องเรียนโรงเรียนพ่อแม่ตามปกติ และมีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพเป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่มีข้อดีคือ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้บุคลากรน้อยในการดำเนินกิจกรรม เหมาะกับหน่วยบริการที่มีบุคลากรน้อยและมีผู้รับบริการจำนวนมาก จึงควรนำมาใช้ในการสอนโรงเรียนพ่อแม่ จะช่วยให้หน่วยบริการฝากครรภ์สามารถจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ไห้ครบถ้วนตามเกณฑ์ได้ดีขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง