การพัฒนารูปแบบการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในโรงเรียนโครงการพระราชดำริ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในโรงเรียนโครงการพระราชดำริ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 166 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู นักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีอาการ คอพอก วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน 1) การวางแผน2 ) การปฏิบัติการ 3 ) การสังเกตการณ์4) การสะท้อนผลการปฏิบัติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้นักเรียน แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและครู แบบสังเกตการณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าคะแนนด้วยสถิติ Paired t-test ข้อมูลคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตีความสรุปเป็นข้อมูลเชิงอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในโรงเรียนประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) การทบทวนบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3) การอบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องไอโอดีน และ 4) การปฏิบัติตนของผู้ปกครองและนักเรียนที่ขาดสารไอโอดีน ผลของการใช้รูปแบบการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนฯพบว่า ความรู้หลังการเข้าโครงการของนักเรียนสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังเข้าโครงการฯสูงขึ้นจากก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean± SD = 12.81 ± 2.82 VS 10.54 ± 2.35 )โดยมีค่า P< 0.001 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในโรงเรียนได้ดีขึ้นจากการสังเกตการปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติ นักเรียนที่มีอาการคอพอกจำนวน 11 คน หลังเข้าโครงการหายจากอาการคอพอก 6 คน คิดเป็นร้อยละ 54.55
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง