ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • พีระดา มานพพิรุฬห์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • เพชรประภัสสร เปรมบำรุง มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • วรรณวิสา สีนามโหน่ง มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • สุภาวดี พันธุมาศ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • พิศมัย นาทัน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จากการใช้สูตรการสำรวจเพื่อประมาณค่าสัดส่วนที่ทราบจำนวนประชากร ได้จำนวนเท่ากับ 169 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติอนุมาน ได้แก่ chi-square หรือ fisher's exact test กรณีที่มีค่า expected value น้อยกว่า 5 เกินร้อยละ 20  

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.9 อายุอยู่ระหว่าง 13-14 ปี ร้อยละ 48.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผลการเรียนล่าสุด (p<0.01) การรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของเพื่อน (p<0.01) การเข้าถึงสถานบันเทิง (p<0.01) และการเข้าถึงสื่อกระตุ้นทางเพศ (p<0.01) ในส่วนของเพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา รายได้ที่รับจากผู้ปกครอง การพักอาศัย สถานภาพสมรสของบิดามารดา ทัศนคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และสัมพันธภาพในครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ดังนั้นครอบครัวและโรงเรียนควรให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำเพิ่มมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-07-2020