ประสิทธิผลโปรแกรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองด้วยสมุดคู่มือสื่อรักพิทักษ์เต้านม ต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในสตรีอายุ 30-70 ปี ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบทดสอบกลุ่มเปรียบเทียบวัดผลก่อน-หลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองด้วยสมุดคู่มือสื่อรักพิทักษ์เต้านมของสตรีอายุ 30-70 ปี ในเขตอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างประชากรสองกลุ่ม เป็นอิสระต่อกัน จำนวนกลุ่มละ 50 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และแบบประเมินทักษะที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79, 0.86 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานด้วยสถิติ Wilcoxon Signed-Rank test และ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 47.38±9.92 ปี และ 50.16±10.88 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 50.0 และ 80.0 อาชีพเกษตร/ทำสวน/ทำไร่ ร้อยละ 48.00 และ 54.0 ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ระดับสูง ทัศนคติดีมาก และทักษะดีมากเพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.0, 62.0 และร้อยละ 82.0 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ระดับต่ำร้อยละ 100.0 ทัศนคติปานกลางร้อยละ 68.0 และทักษะน้อยร้อยละ 96.0 โดยภายหลังการทดลองความรู้ ทัศนคติ และทักษะในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีความแตกต่างจากก่อนทดลองและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 และ p<.001 ตามลำดับ และทักษะของกลุ่มควบคุมก่อนกับหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง